บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุงประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ DEK-DEE MODEL โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2563-2564 2) ศึกษาการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2563-2564 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ DEK-DEE MODEL โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2563-2564
4) ศึกษาผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ DEK-DEE MODEL โรงเรียนบ้านขนุน ปีการศึกษา 2563-2564
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 103 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 101 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 98 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 97 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้แทนจากเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ และแบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน โดยครูที่ปรึกษา ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.734 - 0.849 และแบบบันทึกผลกระทบเชิงบวก
ผลการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS Version 26 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) พบว่า
1) ผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ DEK-DEE MODEL
โรงเรียนบ้านขนุน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง-มาก โดยนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก(x̄ =3.66 , S.D. = 0.73) ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก
(x̄= 4.11, S.D. = 0.80) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
2) ผลการศึกษาพฤติกรรมที่สะท้อนถึง คุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียน
บ้านขนุน หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 3.72, S.D. = 0.71) และปีการศึกษา 2564 ภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.08, S.D. = 0.76) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
3) ผลการศึกษาการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้
DEK-DEE MODEL โรงเรียนบ้านขนุน หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครูที่มีต่อนักเรียน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 3.66, S.D.=0.73) และปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับดี
มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.01, S.D. = 0.74) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
เครือข่ายชุมชน มีต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีของนักเรียน โดยใช้ DEK-DEE MODELโรงเรียนบ้านขนุน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดเท่ากัน อยู่ในระดับมาก ( x̄= 3.74 , S.D. = 0.72) และปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.10 , S.D. = 0.71) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
5) ผลการศึกษาผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ที่ปรากฏต่อโรงเรียนบ้านขนุน ผู้บริหาร
สถานศึกษา ครู และนักเรียน ส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ได้รับการประกาศเกียรติคุณ จากองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษา ทั้งระดับชาติ ระดับภาค/จังหวัด/เขตตรวจราชการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 167 รายการ เมื่อพิจารณาแยกตามระดับ พบว่า ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ระดับชาติ จำนวน 90 รายการ ระดับภาค/จังหวัด/เขตตรวจราชการ จำนวน 12 รายการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 65 รายการ อีกทั้งโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ แหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานทางการศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ศึกษาดูงานกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน จำนวน 7 คณะ รวม 148 คน สอดคล้องตามสมมุติฐาน