ชื่องานวิจัย ผลการใช้ชุดดึงน้ำหนักออกกำลังกายแบบมีแรงต้านที่มีผลต่อความแข็งแรงของ
กล้ามเนื้อแขน สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพิจิตร
ผู้วิจัย นางกาญจนา จันทอุปรี ครู วิทยฐานะชำนาญการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพิจิตร
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการใช้ชุดดึงน้ำหนักออกกำลังกายแบบแรงต้านที่มีผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ ศูนย์การศึกษพิเศษ ประจำจังหวัดพิจิตร อายุ 11 ปี มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลการใช้ชุดดึงน้ำหนักออกกำลังกายแบบมีแรงต้านที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพิจิตร ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลจากแผนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบคนเดียวก่อนและหลัง (One – group Pretest – Posttest Design)
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดย การการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน จากผลการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Test muscles strength)
ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพที่ได้รับการฝึกด้วยชุดดึงน้ำหนักออกกำลังกาย จำนวน 24 ครั้ง มีระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนทั้งสองข้างเพิ่มมากขึ้น แขนข้างขวามีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มสูงขึ้น ระดับ 2 คือ เคลื่อนไหวตามแนวราบได้เมื่อไม่มีความโน้มถ่วงต้านไว้ โดยทำการเคลื่อนไหวได้สำเร็จ มีความยากลำบากปานกลาง การเคลื่อนไหวไม่เป็นจังหวะ และการทำการเคลื่อนไหวจะแย่ลงเมื่อเปลี่ยนความเร็วในการทำ แขนข้างซ้ายมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มสูงขึ้น ระดับ 4 คือ ออกแรงต้านทานได้แต่น้อยกว่าปกติ สามารถทำการเคลื่อนไหวได้สำเร็จ โดยมีความอยากลำบากเพียงเล็กน้อย เป็นตามหลักการและวิธีการส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน การควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย สอดคล้องกับหลักการ เทคนิค วิธีการช่วยเหลือและการจัดการศึกษาของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ที่กล่าวว่า การการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ เป็นระบบในการให้บริการด้านต่างๆ โดยเร็วที่สุดแก่บุคคลที่มีความเสี่ยงทุกระดับทันที การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพด้านกายภาพบำบัดเป็นปัจจัยหนึ่งในด้านการทรงท่า การนั่ง หรือการยืนเพื่อกระตุ้นให้ได้เคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ในลักษณะที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานในการเคลื่อนไหวต่อไป ปรับและควบคุมการตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด
คำสำคัญ ชุดออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน,ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน,บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ