การประเมินโครงการสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาล เทศบาลตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ประเภท คือการประเมินด้านบริบทสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ ประชากรในวิจัยประกอบด้วย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 293 คน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารต้นสังกัด กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูที่ปฏิบัติงานในโครงการ นักเรียนในโครงการ และผู้ปกครองนักเรียน รวมจำนวน 17 คน ซึ่งได้มาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวน 7 ฉบับ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามฉบับที่ 1 4 ตามลำดับ ดังนี้ .893, .848, .883 และ .824 แบบบันทึกทักษะการปฏิบัติงาน แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะนักเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และใช้การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และร้อยละ (Percentage)
ผลการประเมินโครงสร้าง พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยการใช้รูปการณ์ประเมินแบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ด้านบริบทสภาพแวดล้อม (Context ) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน และจากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า นโยบายของผู้บริหารต้นสังกัด คณะกรรมการสถานศึกษา และครูมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กได้เหมาะเหมาะตามศักยภาพของโรงเรียนและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน โดยการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้และวัดผลประเมินผลได้อย่างแท้จริง
2. ผลการประเมินโครงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยการใช้รูปการประเมินแบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน และจากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า โรงเรียนมีบุคลากรที่มีความพร้อมและเพียงพอ สามารถแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบต่อโครงการ กิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่คลอบคลุมทุกช่วงชั้น ความพร้อมทั้งทางด้านความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงาน ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยเหลือ ดูแลทั้งให้คำแนะนำต่าง ๆ กับโรงเรียน
3. ผลการประเมินโครงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
โดยการใช้รูปการประเมินแบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน และจากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า เป็นการดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผน ส่งเสริมสนับสนุนโครงการทั้งจากผู้บริหารการศึกษาต้นสังกัด คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน โดยใช้เวลาในช่วงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งเริ่มต้นจากกิจกรรมโรงเรียนพอเพียง แล้วค่อย ๆ ขยายกิจกรรมมากขึ้น
4. ผลการประเมินโครงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยการใช้รูปการประเมินแบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ด้านผลผลิต (Product) มีดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อโครงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยการใช้รูปการประเมินแบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามโครงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยการใช้รูปการประเมินแบบจำลองของซิป (CIPP Model) ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะผู้เรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามโครงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
โดยการใช้รูปการประเมินแบบจำลองของซิป (CIPP Model) ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจที่มีต่อโครงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด