ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 3
ปีงบประมาณ 2562 โรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง
จังหวัดหนองบัวลำภู
ผู้รายงาน นายกิตติชัย การโสภา
สถานศึกษา โรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง
จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เลย หนองบัวลำภู
ปีที่รายงาน 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียน ยางหล่อวิทยาคาร อำเภอ ศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อประเมินความพร้อมปัจจัยเบื้องต้นและความพอเพียงด้านนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ผลที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 5) ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ประชากร ผู้ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 460 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้บริหาร 12 คน ครู จำนวน 32 คน นักเรียน จำนวน 398 คน ผู้ปกครอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินโครงการ จำนวน 5 ฉบับ สำหรับผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เป็นมาตราส่วน ประเมินค่า 5 ระดับการวิเคราะห์ข้อมูลหาความเชื่อมั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS for Windows) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน
รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ด้านความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ และแผนกลยุทธ์
ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร ในภาพรวมพบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
("X" ̅= 4.73, S.D.= 0.44)
2. ผลการประเมินความพร้อมและความพอเพียงด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.69, S.D.= 0.45)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน
รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ("X" ̅= 4.75, S.D.= 0.43)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน
รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูในภาพรวมพบว่า มีความสำเร็จมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.79, S.D.= 0.58)
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบ ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน
รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.67, S.D.= 0.47)
6. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน
รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ของโรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 แนวทางดังนี้ 1) โรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมในการเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ คือมีการกำหนดหลักการในการปฏิบัติงาน มีการ บริหารงานแบบ บวร 2) โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนอยากเข้ามา เรียนรู้ ส่งผลให้การดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนเกิดประสิทธิผล 3) โรงเรียนมีการนิเทศติดตาม การ ปฏิบัติงาน มีการแนะนำ ช่วยเหลือและสนับสนุน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง บอกปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นโดยร่วมกันหาทางแก้ไข 4) โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดแผนและ ระยะเวลาในการประเมินผลที่ชัดเจน มีการรายงานผลและเผยแพร่การดำเนินงานของโครงการ 5) โรงเรียนส่งเสริม ให้ครู บุคลากรทางการศึกษา มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการมอบหมายงานให้รับผิดชอบตามความถนัด ความสามารถ มีการให้การสนับสนุน ปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง กับโรงเรียนวิถีพุทธ โดยให้เข้ารับการ ฝึกอบรมตามโอกาส เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง
Title Project Assessment Report, Royal Buddhist Oriented School, 3rd
generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang
District Nongbualamphu Province
Researcher Mr. Kittichai Karnsopha
Academy Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Rueang District
Nongbualamphu Province, Secondary Educational Service Area
Office Loei Nongbualamphu
Research Year 2020
Abstract
The project assessment report aims 1) to study the environment of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province 2) to assess the availability of preliminary factors and import self-sufficiency (Input) of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province 3) to evaluate the process of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province 4) to assess the productivity (Product) resulting from the operation of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province 5) Recommendations to develop the Project of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province, Population, > Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province, 460 people from a specific selection method consisting of 12 administrators , 32 teachers, 398 students, 30 parents. The tool used to collect data is a project evaluation. 5 papers for administrators, teachers, students and parents are scaled, evaluated at 5 levels of analysis of confidence data using computers and prefabricated programs. SPSS for Windows Statistics used to analyze data include average ("X" ̅) and S.D. Standard Deviation
The results of the assessment showed:
1. Contextual assessment of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province, Consistency between Objectives, Goals of The Buddhist Oriented School Project, Phra Phrom Pittayanusorn School and The Strategic Plan of Yanglor Wittayakarn School, overall, there was the highest level of consistency
("X" ̅= 4.73, S.D.= 0.44)
2. Evaluation of readiness and self-sufficiency in the inputs of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province, overall, the average is found to be at its highest level ("X" ̅= 4.69, S.D.= 0.45)
3. Process evaluation of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province, overall, the average level was found to be the highest ("X" ̅= 4.75, S.D.= 0.43)
4. The results of the productivity assessment of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province, overall showed that the average achievement was the highest level ("X" ̅= 4.79, S.D.= 0.58)
5. The impact assessment of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province, overall showed the highest level of average ("X" ̅= 4.67, S.D.= 0.47)
6. Recommendations and opinions on the assessment of the Royal Buddhist Oriented School, 3rd generation, Fiscal Year 2019 Yanglor Wittayakarn School, Si Boon Ruang District Nongbualamphu Province, the school is prepared to become a Buddhist Oriented School, which is to establish the principles of operation, there is a "boworn" management, 2) the school provides teaching of elements that encourage students to want to learn 3) The school has a follow-up inservice, operation, guidance, assistance and support, constantly exchange and learn from each other. 4) The school has organized teaching systematically. A clear plan and evaluation period are defined. The results of the project were reported and published 5) The school encouraged teachers to do so. The educational staff is constantly improving themselves. Tasks are assigned to be responsible according to their aptitude. Capabilities are supported. To improve the activities in accordance with the Buddhist Oriented School by undergoing training according to the opportunity to apply the knowledge gained from the training to continuously improve the work.