รายงานการศึกษาเรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านลําแดง
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต 1
ชื่อ สกุลผู้ศึกษา : นายวัฎรวีร์ เวียงสิมา
หน่วยงานที่ศึกษา : โรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 1
ที่ปรึกษา : ดร. อุดมศักดิ์ เพชรผา ศึกษาธิการจังหวัดยโสธร
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2564
รายงานการศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้สรุป ตามระเบียบวิธีการวิจัย ดังนี้
ระเบียบวิธีการศึกษาค้นคว้า เชิงปฏิบัติการ (Action Research)
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือดูแลนักเรียน โรงเรียนสามารถดำเนินกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเพื่อให้การนิเทศ กำกับติตามของครู เป็นไปอย่างมีระบบและชัดเจน โดยมี กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า (Research Participants) ประกอบด้วย ผู้ศึกษาค้นคว้า ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ครู-อาจารย์ ที่เป็นครูที่ปรึกษาประจำชั้นเรียน ครูหัวหน้าสายชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย วิทยากร และผู้ปกครองนักเรียน
ขั้นตอนดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ใช้วงจรการปฏิบัติการ (The Action Research Spiral) ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ขั้นการวางแผน (Planning) ดำเนินการ ดังนี้
1.1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ที่ผ่านมา โดยมีวิธีการดังนี้
1.1.1 ศึกษาข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.1.2 ศึกษาข้อมูลปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ผิดต่อระเบียบวินัยของโรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา
1.1.3 ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของครูโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมศึกษา
1.1.4 ประชุมกลุ่มที่ศึกษา วางแผนการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จากประเด็นปัญหา ครูที่ปรึกษาประจำชั้นเรียนมีความรู้ เรื่อง ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังไม่ดีพอไม่เข้าใจ ไม่มั่นใจในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การดำเนินงานไม่เป็นระบบขาดการนิเทศกำกับติดตามที่เป็นระบบ นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
1.2 กลยุทธ์ในการพัฒนา
1.2.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ
1.2.2 การนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม
2. ขั้นการปฏิบัติ (Action) ดำเนินการ ดังนี้
2.1 กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) ซึ่งดำเนินการประกอบด้วย
2.1.1 กิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ (Lecture)
2.1.2 กิจกรรมการประชุมอภิปราย (Conference)
2.1.3 กิจกรรมการสาธิต (Demostration)
2.1.4 กิจกรรมการฝึกปฏิบัติงาน (Action)
2.2 กลยุทธ์การนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม ซึ่งดำเนินการประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้
2.2.1 กิจกรรมการประชุมให้ความรู้
2.2.2 กิจกรรมการสังเกตการนิเทศ
2.2.3 กิจกรรมการนิเทศแบบโยนิโสมนสิการ
2.2.4 กิจกรรมการสร้างขวัญและกำลังใจ
3. ขั้นการสังเกต (Observation)
3.1 กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติ ซึ่งดำเนินการประกอบด้วยกิจกรรม
ดังต่อไปนี้
3.1.1 กิจกรรมบรรยายให้ความรู้
3.1.2 กิจกรรมการประชุมอภิปราย
3.2 กลยุทธ์การนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม ซึ่งดำเนินการประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
3.2.1 กิจกรรมการประชุมให้ความรู้
3.2.2 กิจกรรมการสังเกตการณ์นิเทศ
3.2.3 กิจกรรมการนิเทศแบบโยนิโสมนสิการ
3.2.4 กิจกรรมการสร้างและกำลังใจ
4. ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) ดำเนินการดังนี้
4.1 กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งดำเนินการประกอบด้วยกิจกรรม
ดังต่อไปนี้
4.1.1 กิจกรรมการบรรยายให้ความรู้
4.1.2 กิจกรรมการประชุมอภิปราย
4.1.3 กิจกรรมการสาธิต
4.1.4 กิจกรรมการฝึกปฏิบัติงาน
4.2 กลยุทธ์การนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม ซึ่งดำเนินการโดยประกอบด้วย
4.2.1 กิจกรรมการประชุมให้ความรู้
4.2.2 กิจกรรมการสังเกตการณ์นิเทศ
4.2.3 กิจกรรมการนิเทศแบบโยนิโสมนสิการ
4.2.4 กิจกรรมการสร้างขวัญและกำลังใจ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้เครื่องมือ 4 ชนิด คือ
1. แบบสอบถามความคิดเห็นการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ ผู้ร่วมศึกษาชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ
2. แบบทดสอบอัตนัยวัดความรู้ความเข้าใจของผู้ร่วมศึกษา
3. แบบสังเกต
4. แบบสัมภาษณ์
การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
การจัดกระทำข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากแบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และ
แบบสอบถาม นำมาตรวจความถูกต้องสมบูรณ์ ตรวจให้คะแนน และจัดหมวดหมู่ แยะประเภท เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จากแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่ได้จากแบบทดสอบ ใช้การเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมเป็นรายบุคคล
สรุปผล
1. กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ
จากการดำเนินงานตามกลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ดำเนินการเมื่อวันที่ 16 -17 พฤศจิกายน 2564 สรุปผลได้ว่า บรรยากาศในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติเป็นไปตามขั้นตอนพิธีการของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสิ่งที่สังเกตตามความเป็นจริง พบว่า วิทยากรมีความพร้อมในด้านความรู้ ทักษะการนำเสนอแนะถ่ายทอด การให้การชี้แนะและทีมงานที่ความเชี่ยวชาญด้านให้คำปรึกษามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยสังเกตได้จากการให้ความเป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคน มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการศึกษา เช่น ให้ความสนใจในการศึกษาเอกสารประกอบการศึกษากรณีการศึกษาการแสดงความคิดเห็น การนำเสนอผลการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการที่ตรงเวลาตามที่วิทยากรกำหนด สามารถฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นอย่างดี ทั้งกล้าที่จะซักถามหรือแสดงความคิดเห็นในขณะที่ร่วมกิจกรรม สามารถจัดทำคู่มือครูที่ปรึกษาได้ผลการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบของกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งก่อนและหลังการประชุม เชิงปฏิบัติการ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยหลังประชุมเชิงปฏิบัติการมากกว่าก่อนประชุมเชิงปฏิบัติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า มีคะแนนทดสอบหลังการการประชุม เชิงปฏิบัติ ผลจากการสะท้อนผลการพัฒนาด้านกรอบความรู้ 5 องค์ประกอบ จากความคิดเห็นของครูผู้ร่วมศึกษานำเสนอ ดังนี้
1.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูที่ปรึกษากลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ได้ดำเนินการจัดทำระเบียนสะสมของนักเรียน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะทำให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการและจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ครูที่ปรึกษา ผู้ปกครอง นักเรียนและเพื่อนักเรียน ซึ่งถือได้ว่าระเบียนสะสม นักเรียนมีความสำคัญต่อการติดตามดูแลนักเรียน ดังนั้น ข้อที่บันทึกลงในระเบียบสะสมนั้นจะต้องมีความถูกต้องเหมาะสมกับสภาพการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียน เพื่อการนำมาใช้ในการติดตามนักเรียนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลจากการปฏิบัติตามปฏิกิริยางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของกลุ่ม ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ซึ่งพบว่าสามารถดำเนินการจัดระเบียบสะสม ของนักเรียนในความรับผิดชอบได้ครบทุกคน และสามารถจัดเก็บระเบียนสะสมนักเรียนได้อย่าง เป็นระบบ
1.2 การคัดกรองนักเรียน การปฏิบัติงานคัดกรองนักเรียนของผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ พบว่า สามารถที่จะดำเนินการคัดกรองนักเรียนตามแนวทางโดยการประเมินในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ การใช้ระเบียนสะสมหรือแบบบันทึกข้อมูลนักเรียน การใช้แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) การวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนจากระเบียนสะสม การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินพฤติกรรม (SDQ) การใช้เกณฑ์การคัดกรองนักเรียน การพิจารณาคัดกรองนักเรียนตามเกณฑ์การคัดกรองนักเรียน การบันทึกผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคล สรุปผลการคัดกรองนักเรียนในกลุ่ม การพิจารณาคัดกรองนักเรียนของตนเองออกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหาได้ครบทุกคน
1.3 การส่งเสริมนักเรียน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมนักเรียนกลุ่มปกติและป้องกัน ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ช่วยให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในตนเองมากยิ่งขึ้น ช่วยป้องกันกลุ่มปกติ มิให้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงและเป็นการช่วยพัฒนากลุ่มเสี่ยงให้กลับมาเป็นกลุ่มปกติ ดังนี้
1.3.1 โครงการส่งเสริมทักษะพัฒนาการดำรงชีวิต นักเรียนให้ความสนใจเพราะได้รับความรู้ที่แปลกใหม่ทั้งวิทยากรผู้ให้ความรู้ นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตของนักเรียน
1.3.2 การอบรมนักเรียนที่หน้าเสาธง เป็นกิจกรรมที่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ให้ความรู้ และอบรมแนะนำตักเตือน ซึ่งนักเรียนให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
1.3.3 กิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) พบว่า ครูที่ปรึกษามีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ มีความรัก เอื้ออาทร และเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน มีการอบรมเรื่องระเบียบวินัย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีการใช้สถานที่ตามความเหมาะสมในการจัดกิจกรรม ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งนอกและในสถานศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะพบครูที่ปรึกษามีความเข้าใจในแนวปฏิบัติที่ตรงกัน มีกิจกรรมที่หลากหลาย มีการนำเสนอข่าวสารและเนื้อหาสาระความรู้ใหม่ เกิดความผูกพันระหว่างครูที่ปรึกษากับนักเรียนได้เปลี่ยนการใช้ชื่อครูที่ปรึกษาใหม่ เป็นพ่อครู- แม่ครู และนักเรียนที่เป็นลูกในครอบครัวเดียวกัน
1.3.4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษา เป็นกิจกรรมที่มุ่งหวังที่จะให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความรู้ ความสนใจ ความถนัด ความสามารถ ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งผลการจัดกิจกรรมนั้น พบว่า นักเรียนสามารผ่านการประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ทุกคน
1.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
1.4.1 การจัดกิจกรรมการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) พบว่า ผู้ปกครองมีความภาคภูมิใจที่โรงเรียนเอาใจใส่บุตรหลาน ครูที่ปรึกษากับผู้ปกครองมีความเป็นกันเอง ผู้ปกครองมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการแก้ปัญหาพฤติกรรม อยากให้มีการจัดประชุมทุกๆ ภาคเรียน และผู้ปกครองได้แสดงความเป็นห่วงอยากให้ทางโรงเรียนช่วยเหลือ คือการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น การแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นอกจากนั้นเป็นพฤติกรรมโดยทั่วไปของนักเรียนจากการสำรวจ พบว่า ยังมีผู้ปกคอรงของนักเรียนบางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมประชุมปกครองชั้นเรียนได้ เนื่องจากผู้ปกครองนักเรียนไปทำงานที่ต่างจังหวัด จึงไม่สามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมได้ ผู้ปกครองยังได้เสนอแนวทาง เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครูที่ปรึกษาและผู้ปกครอง คือ การออกเยี่ยมบ้านนักเรียนของครูที่ปรึกษา ซึ่งผู้ปกครองยินดีต้นรับและให้การสนับสนุนอย่าเดิม
1.4.2 การให้คำปรึกษาหารือเบื้องต้นแก่นักเรียน พบว่า นักเรียนและครูมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น นักเรียนมารับคำแนะนำอยู่บ้างในช่วงพักเที่ยงวัน หรือคาบที่ว่างจากการเรียนการสอน ทั้งในเรื่องปัญหาการเรียน ปัญหาเพื่อนนักเรียน ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ตามลำดับ ซึ่งยังมีนักเรียนบางคนที่ไม่กล้าที่จะขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา ครูที่ปรึกษาใช้วิธีการสอบถามจากเพื่อนนักเรียน ผลของการให้คำปรึกษาหารือเบื้องต้น นักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ปัญหาต่างๆ ของนักเรียนลดลง นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น นักเรียนมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
1.5 การส่งต่อ เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการภายในโรงเรียนซึ่งเป็นการประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ไม่ได้ดำเนินการในการส่งต่อภายนอก
สรุปผล จากการดำเนินการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยใช้ กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ กิจกรรมการประยุกต์อภิปราย กิจกรรมการสาธิต และกิจกรรมการฝึกปฏิบัติงาน คือ ครูที่ปรึกษามีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนและวิธีการในการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีขึ้น
2. กลยุทธ์การนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม
การนิเทศกำกับติดตาม โดยการให้ความรู้ในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยวิธีการจัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้ การศึกษาแนวทางการดำเนินงานจากคู่มือครูที่ปรึกษา วิดีโอ และวีซีดี ของกรมสุขภาพจิต แล้วจัดทำปฏิทินการนิเทศกำกับติดตามโดยมอบหมายให้ครูหัวหน้าชั้นเรียนและครูรองหัวหน้าระดับชั้นเรียนเป็นผู้ให้การนิเทศกำกับติดตามในระดับชั้นเรียนทุกสัปดาห์ มีการประชุมให้การนิเทศกำกับติดตามในภาพรวมทุกเดือน
ผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
จากการวิเคราะห์การนิเทศกำกับติดตามของครูหัวหน้าระดับชั้นเรียนและครูรองหัวหน้าระดับมัธยมศึกษาจากแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ พบว่า ครูมีความรู้เข้าใจ สามารถดำเนินงาน ตามระบบการดูแล ดังนี้
1. วัตถุประสงค์การพัฒนาเพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ตามระบบการดูแลช่วยเหลือดูแลนักเรียน
ผลจากการสังเกตผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นอย่างดีทั้งกล้าที่จะซักถามหรือแสดงความคิดเห็นในขณะร่วมกิจกรรม สามารถจัดทำคู่มือครูที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วยปฏิทินปฏิบัติงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ตลอดจนผลของการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบของกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในหลักการ และวัตถุประสงค์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวัตถุประสงค์การดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือเพิ่มขึ้น
1.1 วัตถุประสงค์การพัฒนาโรงเรียนสามารถดำเนินกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวัตถุประสงค์ ความสำคัญและองค์ประกอบของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแล้ว สามารถจัดทำปฏิทินการปฏิบัติการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่เป็นขั้นตอนาซึ่งจากการนิเทศกำกับติดตามจากผู้เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ผู้ศึกษาค้นคว้า หัวหน้างานกิจการนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ได้ค้นพบดังรายละเอียด ดังนี้
1.1.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูที่ปรึกษาได้จัดทำระเบียนสะสมของนักเรียน โดยให้นักเรียกรอกข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนักเรียน เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลด้านครอบครัว ข้อมูลความสามารถ เช่น ผลการเรียน ประวัติการศึกษา เจตคติต่อวิชาเรียน วิชาที่เรียน ได้ดี ความสามารถอื่นๆ เช่น รางวัล ทุนการศึกษา ฯลฯ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลการวางแผน การศึกษาและอาชีพ แผนที่การเดินทางจากโรงเรียนไปบ้านพัก ซึ่งบางส่วนครูที่ปรึกษาอาจใช้วิธีการพูดคุย อธิบายทำความเข้าใจในข้อสงสัยที่นักเรียนไม่สามารถดำเนินการกรอกข้อมูลได้ ระเบียนสะสมของนักเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการติดตามดูแลนักเรียน ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าสามารถทำระเบียนสะสมของนักเรียนในความรับผิดชอบได้ครบทุกคน และสามารถจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
1.1.2 การคัดกรองนักเรียน กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าสามารถปฏิบัติงาน คัดกรองนักเรียนในความรับผิดชอบของตนเองโดยแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาได้
1.1.3 การส่งเสริมนักเรียน เป็นขั้นตอนในการจัดกิจกรรมต่างๆในการ สนับสนุนส่งเสริมนักเรียนกลุ่มปกติและป้องกันของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนที่อยู่ในความดูแลมีคุณภาพที่ดีขึ้น ช่วยให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเองมากยิ่งขึ้น ช่วยป้องกันกลุ่มปกติมิให้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงและเป็นการช่วยพัฒนากลุ่มเสี่ยงให้กลับมาเป็นกลุ่มปกติ ซึ่งมีกิจกรรมที่กำหนดดังนี้ โครงการส่งเสริมทักษะพัฒนาการดำรงชีวิตโดยใช้วิทยากรภายนอก การอบรมนักเรียนหน้า เสาธง กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1.1.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนครูที่ปรึกษาให้ความสนใจเอาใจใส่นักเรียนในที่ปรึกษาของตนทุกคนอย่างเท่าเทียม มีเทคนิคให้คำปรึกษาเบื้องต้นอย่างถูกวิธี พบปะพูดคุย เพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม อาศัยความรู้ด้านพัฒนาการจิตวิทยาวัยรุ่น รู้จักการรับฟัง การใช้คำถาม การช่วยเหลือแก้ไข และยุติการปรึกษานอกจากนี้ยังจัดให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหา ได้แก่
1.1.4.1 กิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) ได้มีการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน เพื่อให้ครูที่ปรึกษาได้มีโอกาสพบปะพูดคุยสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้กับผู้ปกครองนักรเยนในการให้ความร่วมมือและใส่ใจในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากขึ้น พร้อมทั้งรับทราบผลการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและปัญหาของนักเรียนที่พบในโรงเรียน ดำเนินการโดยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าและคณะกรรมการฝ่ายกิจการของนักเรียน ร่วมประชุมปรึกษาหารือการวางแผน
1.1.4.2 กิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) กำหนด วัน เวลา สถานที่ และการเตรียมความพร้อมข้อมูลในทุกๆ ด้านการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ และแนวทางในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครอง เพื่อป้องกันการเกิดความรู้ที่ไม่ดีของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อครูที่ปรึกษาและโรงเรียน การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้แสดงความคิดเห็น การสร้างความคุ้นเคยระหว่างครูที่ปรึกษากับผู้ปกครอง การเก็บข้อมูลในการจัดกิจกรรม เช่น จำนวนผู้ปกครองทีเข้าร่วมกิจกรรมความคิดเห็นของผู้ปกครองบรรยากาศของการจัดประชุม
ผลการดำเนินงานกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) พบว่า ครูที่ปรึกษามีความภาคภูมิใจที่โรงเรียน เอาใจใส่บุตรหลาน ครูที่ปรึกษากับผู้ปกครองมีความเป็นกันเอง ผู้ปกครองมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการแก้ปัญหาพฤติกรรม อยากให้มีการจัดประชุมทุกๆ ภาคเรียน และผู้ปกครองได้แสดงความเป็นห่วง อยากให้ทางโรงเรียนช่วยเหลือก็คือ การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียน ซึ่งพบว่า มีจำนวนมาก นอกจากนั้นก็เป็นพฤติกรรมโดยทั่วไปของนักเรียน จากการสำรวจพบว่า ยังมีผู้ปกครองของนักเรียนบางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนได้ เนื่องจากผู้ปกครองนักเรียนไปทำงานที่ต่างจังหวัด จึงไม่สามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมได้ ผู้ปกครองยังได้เสนอแนวทางเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครูที่ปรึกษาและผู้ปกครอง คือ การออกเยี่ยมบ้านนักเรียนของครู ที่ปรึกษา ซึ่งผู้ปกครองยินดีต้อนรับและให้การสนับสนุน
1.1.5 การส่งต่อนักเรียน เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ครูที่ปรึกษาดำเนินการ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะสิ้นสุดลงที่ การป้องกันและการแก้ไขปัญหา การส่งต่อภายในจะเกิดขึ้นเมื่อครู ที่ปรึกษาไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ซึ่งต้องใช้เวลานานในขั้นตอนนี้ สำหรับโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จะเริ่มต้นที่ครูที่ปรึกษา ครูหัวหน้าสายชั้นเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาตามลำดับ ส่วนการดำเนินการส่งต่อภายนอกจะเกิดขึ้นหลังจากที่โรงเรียนได้รับคำร้องขอย้ายนักเรียน ทั้งนี้ครู ที่ปรึกษาทุกคนสามารถส่งต่อด้วยเอกสารแบบฟอร์มที่กำหนดขึ้นโดยแนบเอกสารระเบียนสะสม ผลการคัดกรองนักเรียน และแฟ้มสะสมผลงานนักเรียนให้กับผู้ปกครองนักเรียน ส่วนการจะสั่งพักการเรียนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มมีปัญหา โรงเรียนมิอาจดำเนินการได้เนื่องจากโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ได้จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษา ภาคบังคับ
สรุปผล โรงเรียนสามารถดำเนินกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ครบทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และการส่งต่อนักเรียน โดยมีครูที่ปรึกษาชั้นเรียนเป็นผู้ดำเนินการ และครูหัวหน้าสายชั้นเรียน และรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนเป็นผู้ให้การนิเทศ
2. วัตถุประสงค์การพัฒนา เพื่อให้การนิเทศ กำกับติดตามของครูหัวหน้าสายชั้นเรียนและรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนเป็นระบบและชัดเจน มีการรายงานผลให้ทราบทุกวันในเรื่องปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไข และรายงานภาพรวมในการปฏิบัติทุกสัปดาห์ มีการประเมินผลการยกย่องชมเชยผลการปฏิบัติที่ดีทุกเดือน
สรุปผล ครูหัวหน้าสายชั้นเรียน และผู้รับผิดชอบโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการนิเทศติดตามเป็นอย่างดี สามารถดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีระบบและชัดเจน
ระเบียบวิธีการศึกษาค้นคว้า เชิงสำรวจ (Survey Research)
วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูและผู้ปก ครองนักเรียนบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำแนกตามสถานภาพ สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียนที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ไม่แตกต่างกัน โดยได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าด้านประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียน ในโรงเรียนบานลําแดง สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 273 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 12 คน ผู้ปกครองนักเรียน 216 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนบานลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 102 คน จำแนกเป็นข้าราชการครู 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน 93 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จของเครทซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1998 : 103 อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด. 2535 : 39) ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ สถานภาพและเพศของกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อ การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม(คุรุราษฎร์รัฐกิจโกศล) สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ภายใต้ขอบข่ายการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบานลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยมีกรอบการดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนและด้านการส่งต่อ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อ การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับข้าราชการครู และผู้ปกครองนักเรียนเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเครื่องมือจะแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถามลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการ ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อ การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบานลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยมีกรอบการดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนและด้านการส่งต่อ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert) คือ ระดับมากที่สุด ระดับมาก ระดับปานกลาง ระดับน้อย ระดับน้อยที่สุด ซึ่งกำหนดค่าน้ำหนักของการตอบเป็น 5 , 4 , 3 , 2 และ 1 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลมีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นำแบบสอบถามที่ได้มาแยกตามคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง แล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ได้แบบสอบถาม
2. นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ในการตอบในแต่ละข้อ และในแต่ละด้าน
3. นำแบบสอบถาม มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของน้ำหนักคะแนนของการตอบในแต่ละข้อคำถามและแต่ละด้าน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC สำหรับค่าสถิติต่อไปนี้
1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่
1.1 ค่าร้อยละ (Percentage)
1.2 ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean)
1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เครื่องมือ
2.1 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาโดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา
(Alpha Coefficient)
2.2 หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบสอบถาม
3. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานการศึกษา
ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม คำนวณค่า t-test (Independent)
สรุปผลการศึกษา
1. ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบานลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนคร ศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบานลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 4 การป้องกันและการแก้ไขปัญหา ด้านที่ 3 การส่งเสริมนักเรียน และด้านที่ 5 การส่งต่อ
เมื่อพิจารณาแยกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ข้าราชการครูโดยรวม มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการครู มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้าน ลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 4 การป้องกันและการแก้ไขปัญหา ด้านที่ 5 การส่งต่อ และด้านที่ 3 การส่งเสริมนักเรียน
ส่วนผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 อยู่ในระดับมาก ทุกด้านโดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 4 การป้องกันและการแก้ไขปัญหา ด้านที่ 3 การส่งเสริมนักเรียน และด้านที่ 5 การส่งต่อ
2. ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวม ไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียนโดยรวมมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการส่งต่อ โดยข้าราชการครูมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านลําแดง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มากกว่า ผู้ปกครองนักเรียน ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ