ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
ผู้ศึกษา นางสาวพิมพ์ลภัส เนียมหอม
สถานศึกษา โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 2) ประเมินความพึงพอใจต่อจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน รวมไทยพัฒนา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบ IPO Model ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 3 ด้าน คือ การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ประกอบด้วย คณะครู จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 143 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 143 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 311 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน รวมไทยพัฒนา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ด้านผลผลิต มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
1.1 ผลการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร การบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถดำเนินโครงการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
1.2 ผลการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการด้วยวิธีการที่เหมาะสม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ จัดโครงสร้างงาน กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารโครงการมีความชัดเจนและครอบคลุมทุกกิจกรรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ตรวจสอบผลการแก้ไขและปรับปรุงกิจกรรมด้วยวิธีการที่เหมาะสม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อ
1.3 ผลการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ด้านผลผลิต (Output Evaluation) ภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารให้การสนับสนุน การติดตามผลการดำเนินโครงการเป็นระยะและให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับสถานศึกษาอื่น มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
2. การประเมินความพึงพอใจต่อโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
ภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ การประสานงานเพื่อความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น รองลงมา ได้แก่ พฤติกรรมด้านทักษะ การทำงานของนักเรียนหลังจากเข้าร่วมโครงการ และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การสนับสนุนจากชุมชน ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ