ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
นักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม
จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางชมัยพร แก้วละเอียด รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านม่วงงาม
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2565
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงาน (Plan) การดำเนินการจัดกิจกรรม (Do) การติดตามและประเมินผล (Check) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา (Action) 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ในประเด็นต่อไปนี้ 4.1)คุณภาพในการดำเนินการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 4.2) การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 4.3)พฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ 1) ความมีวินัย 2) ความรับผิดชอบ 3) การมีจิตสาธารณะ/จิตอาสา และ 4) ความพอเพียง 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย นักเรียนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่าง 150 คน (เนื่องจากนักเรียนชั้นดังกล่าวมีความสามารถในการอ่าน สามารถสื่อข้อความจากข้อคำถามได้ดีกว่าชั้นอื่นๆ) ครู ผู้สอนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นครูพี่เลี้ยง (ครูปฐมวัย) ได้กลุ่มตัวอย่าง 24 คน
ผู้ปกครองกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ฉบับที่มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .907 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการประเมินโครงการผลการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นปรากฏผลดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.74, S.D.= .12) และ ( x̄= 4.81, S.D.= .09) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูพบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.73, S.D.= .13)ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.61, S.D.= .14), ( x̄= 4.61, S.D.= .14) และ ( x̄= 4.65, S.D.= .13) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมินใน 5 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณา แต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่ากลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄= 4.72,S.D.=.11) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( x̄= 4.70,S.D.= .07) อยู่ในระดับมากที่สุดส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.66,S.D.= .12) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมพบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.80,S.D.= .13) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ครู ( x̄= 4.76, S.D.= .16) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄= 4.69, S.D.= .18) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ 1) ความมีวินัย 2) ความรับผิดชอบ 3) การมีจิตสาธารณะ/จิตอาสา และ 4) ความพอเพียง พบว่า
4.3.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองพบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินนักเรียนมีพฤติกรรม อยู่ในระดับดีเยี่ยม ( x̄= 3.59, S.D.= .50) และ ( x̄= 3.58,S.D.= .26) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด( x̄= 4.79,S.D.= .15) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ครู (x̄ = 4.78, S.D.= .15) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.71,S.D.= .19) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1.ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นจุดเด่นของการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนบ้านม่วงงาม ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการดี โดยฝ่ายบริหาร 2) การส่งเสริมและการมีส่วนร่วมดี โดยผู้ปกครอง 3) การจัดการเรียนรู้ดีและการเป็นแบบอย่างที่ดีของครู 4) การส่งเสริมให้นักเรียนมีเพื่อนดี 5) การส่งเสริม/พัฒนาสื่อต้นแบบ หรือสิ่งแวดล้อมดี ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้อย่างดียิ่ง ดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ ควรนำกรอบ 5 ลักษณะข้างต้นไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามบริบทของโรงเรียน
1.2 ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและเครือข่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3 ควรขยายผลการดำเนินโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอย่างยั่งยืน
1.4 ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอีกทั้งมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา