บทสรุป
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน
โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่
ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางสาวนันทวรรณ ชูมนตรี
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ของโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (stufflebeam) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 6 จำนวน 80 คน ครู จำนวน 8 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 6 จำนวน 80 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น แต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.92 - 0.99 ผู้รายงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows. V.22 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage)
สรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 สรุปผลได้ดังนี้
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม โครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า โครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 3.69 , S.D. = .47) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน
4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการ
4.1 ผลผลิตด้านคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน
4.2 ผลผลิตด้านทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลผลิตด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
จากการรายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านวัดใหม่ ปีการศึกษา 2563 มีข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการรายงานการประเมินโครงการ ไปใช้ดังนี้
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1. การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืน สถานศึกษาควรมีการสร้างความตระหนักเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน ควรใช้หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาครูให้ใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนา ให้ค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งเน้นการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกิจกรรมที่สอดคล้องตามศักยภาพของผู้เรียนก่อเกิดผลสัมฤทธิ์มากมายเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชนเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานอื่นได้
2. หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดปลายทางยั่งยืน โรงเรียนปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และเป็นโรงเรียนรักการอ่าน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น มีทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ครูผู้สอนเป็นครูมืออาชีพในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน มีนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ตรงตามความจำเป็นของสังคมปัจจุบัน
3. ผู้บริหารเป็นที่ปรึกษา หรือให้คำแนะนำให้ความรู้ตลอดจนส่งเสริมในการจัดกิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคล มีความยุติธรรม มีความเป็นกลางเป็นที่ยอมรับตลอดการดำเนินโครงการ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผล เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการแก่ครูเป็นแบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้และทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)