รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์และการแข่งขันหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้โค้ดดิ้ง (Coding) ของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการการพัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์และการแข่งขันหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้โค้ดดิ้ง (Coding) ของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP Model ประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการพัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์และการแข่งขันหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ โค้ดดิ้ง (Coding) ของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ จำนวน 170 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 44 คน และนักเรียน จำนวน 126 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบประเมิน มาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่ผู้ประเมิน สร้างขึ้น จำนวน 4 ฉบับ และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x- ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. )
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการการพัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์และการแข่งขันหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้โค้ดดิ้ง (Coding) ของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x- = 4.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสามารถเรียงลำดับระดับการดำเนินการจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามลำดับ สรุปได้ดังนี้
1.1 ด้านบริบท (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.82) โดยมีความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน ประเด็นที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบาย จุดเน้น และวิสัยทัศน์ของหน่วยงานต้นสังกัดและกระทรวงศึกษาธิการ (x- = 4.95) ประเด็นที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกัน คือ 1) เป้าหมายของโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ (x- = 4.81) 2) โครงการส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหาและทักษะโค้ดดิ้ง (Coding) (x- = 4.81) และ 3) โครงการมีประโยชน์และสามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและชุมชนได้ (x- = 4.81) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x- = 4.75) โดยมีความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน ประเด็นที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ หน่วยงานภายนอก/เครือข่ายการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (x- = 4.94) สอดคล้องกันในทุกประเด็น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
1.3 ด้านกระบวนการ (Process) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x- = 4.75) โดยมีความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน ประเด็นที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การดำเนินกิจกรรมโดยมีส่วนร่วมจากเครือข่ายการเรียนรู้และหน่วยงานภายนอก (x- = 4.91) สอดคล้องกันในประเด็น 1) การวางแผน (Plan) 2) การลงมือปฏิบัติ (Do) 3) การตรวจสอบ (Check) 4) การปรับปรุง (Action) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกขั้นตอน
1.4 ด้านผลผลิต (Product) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x- = 4.73) โดยมีความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน ประเด็นที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ โครงการประสบความสำเร็จ บรรลุวัตุประสงค์ของโครงการ (x- = 4.92) สอดคล้องกันในทุกประเด็น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
2. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการพัฒนาศักยภาพ นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์และการแข่งขันหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้โค้ดดิ้ง (Coding) ของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x- = 4.82) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.40)