ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้กระบวนนิเทศแบบ PIDRE ผสานเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ
สะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision) เพื่อส่งเสริมการใช้ชุดกิจกรรม
การจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัย สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
ผู้ศึกษา พิชญภัสสร์ เอี่ยมสะอาด
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานผลการนิเทศครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของครูปฐมวัยหลังการใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ผสานเทคนิคการชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision)ในการส่งเสริมการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัย 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัยด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ผสานเทคนิคการชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision) 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ผสานเทคนิคการชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision) ในการส่งเสริมการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่ครูผู้สอนเด็กระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5 ที่ไม่ได้เรียนจบสาขาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ประเภทที่ผู้รายงานได้จัดทำขึ้นด้วยตนเองทุกรายการคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ได้แก่ คู่มือการนิเทศ เรื่อง การใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ผสานเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision) เพื่อส่งเสริมการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 และ เอกสารประกอบการนิเทศ จำนวน 2 เล่ม คือ เล่มที่ 1 คู่มือนิเทศภายในสำหรับผู้บริหารโรงเรียน เล่มที่ 2 แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อน - หลังการอบรม เรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2. แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัยและ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศเพื่อส่งเสริมการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัย โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ผสานเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการศึกษา
ผลการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัยโดยการใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ผสานเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision) มีดังนี้
1. ความก้าวหน้าของครูปฐมวัยหลังการเข้ารับการอบรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย พบว่า ผลการทดสอบหลังการอบรม มีค่าเฉลี่ย (μ = 25.22) สูงกว่าผลการทดสอบก่อนการอบรมซึ่งมีค่าเฉลี่ย (μ = 18.61) โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6.61 เมื่อทดสอบความแตกต่างของผลการอบรมก่อนและหลังการอบรม พบว่า ผลการทดสอบหลังการอบรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. พฤติกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยพบว่า ในภาพรวมมีผลประเมินการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (μ = 4.43) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมากขึ้นไป โดยผลการปฏิบัติในด้านที่ 2 การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้มีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (μ = 4.57)
3.ความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศการเพื่อส่งเสริมการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการเด็กของครูปฐมวัย โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ผสานเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision) พบว่าครูปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการนิเทศอยู่ในระดับมาก (μ = 4.38) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (μ = 4.43) ส่วนด้านการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (μ = 4.32)