รายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ประเภทครูผู้สอน (ครูเสาวนี ย์ปาพันธ์)
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๑. ชื่อเรื่อง : เรียนรู้และปฏิบัติ บูรณาการด้วยหลักปรัชญาฯ สถานศึกษาปลอดภัย
๒. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกิจกรรม PLC ของคณะครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ พบว่า ในช่วงสถานการณ์ โรคระบาด Covid -๑๙ ส่งผลให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ เหมือนปีการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งโรงเรียนชุมชนบ้านเขาแก้วได้ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลายหลายรูปแบบ คือ การสอน on-line/on-demand สำหรับนักเรียนที่มีอุปกรณ์สื่อสาร และสัญญาณอินเทอร์เน็ต การสอนแบบ on-hand สำหรับนักเรียนที่ไม่มีเครื่องมือสื่อสารและสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้โรงเรียนได้คำนึงถึงความเสมอภาคในการเรียนของนักเรียนเป็นสำคัญ
ปัญหาที่พบในรายวิชาต่าง ๆ ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ของครูแต่ละคนนั้น พบว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนัก โดยส่วนใหญ่คือ ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในทางทฤษฎีหรือทางวิชาการได้อย่างเต็มที่ เนื่องด้วยปัจจัยดังที่ได้กล่าวมา ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ไม่เป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งมีนักเรียนร้อยละ 10 ไม่เข้าสู่ระบบการเรียนการสอน มีแนวโน้มออกกลางคัน คณะครูจึงมีความเห็นร่วมกันว่า ควรจัดกิจกรรมเน้นการปฏิบัติจริงสามารถบูรณาการได้กับวิถีชีวิตในครอบครัว และท้องถิ่น อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะด้านคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้นักเรียนได้ปรับตัวและเรียนรู้ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น
๓. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินงาน
๓.๑ เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ทุกคน มั่นใจในตนเองกล้าแสดงความคิดเห็นมีทักษะกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน สามารถบูรณาการกับวิถีชีวิตในครอบครัวและท้องถิ่น
๓.๒ เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ทุกคน เกิดแรงบันดาลใจในการแสวงหาความรู้ มีความสุขกับการแสวงหาความรู้ทั้งในห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้อื่นที่มีในครอบครัวและท้องถิ่นของตนเอง
๓.๓ เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ทุกคน รักการเป็นอยู่อย่างพอเพียง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีความขยัน อดทน มานะพยายาม เห็นคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
๓.๔ เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
๓.๕ เพื่อช่วยเหลือให้นักเรียนที่กำลังจะออกกลางคัน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด ให้กลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษาในโรงเรียน
๓.๖ เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยจากโรคระบาด Covid-19 และอบายมุขทั้งปวง
๔. ขอบเขตการดำเนินงาน
2.2.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน
2.2.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนมีความมั่นใจในตนเองกล้าแสดงความคิดเห็นมีทักษะกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน สามารถบูรณาการกับวิถีชีวิตในครอบครัวและท้องถิ่น เกิดแรงบันดาลใจในการแสวงหาความรู้ มีความสุขกับการแสวงหาความรู้ทั้งในห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้อื่นที่มีในครอบครัวและท้องถิ่นของตนเอง รักการเป็นอยู่อย่างพอเพียง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีความขยัน อดทน มานะพยายาม เห็นคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นมีความปลอดภัยจากโรคระบาด Covid-19 และอบายมุขทั้งปวง
๕. กระบวนการขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นที่ ๑ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
๑.๑ ศึกษาปัญหาจากการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครู ด้วยกิจกรรม PLC ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ แล้วนำมาสรุปประมวลผล
๑.๒ ศึกษาจากการได้รู้เห็นในข้อเท็จจริงโดยประสบการณ์ตรงของครู ทั้งในห้องเรียนชุมชน และท้องถิ่นในเขตบริการของโรงเรียน
ขั้นที่ ๒ พัฒนารูปแบบ
๒.๑ ออกแบบกิจกรรมให้ปฏิบัติอย่างหลากหลายและสามารถปฏิบัติได้จริง ยืดหยุ่นได้ตามสภาพของเวลาและโอกาส
๒.๒ กิจกรรมที่ออกแบบไว้สามารถยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับโรงเรียน ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด
ขั้นที่ ๓ ปฏิบัติตามกิจกรรมตามรูปแบบที่วางไว้อย่างต่อเนื่องตลอดภาคเรียนที่๒ปีการศึกษา ๒๕๖๔
ขั้นที่ ๔ ประเมินผล
๔.๑ ประเมินผลเชิงปริมาณ ประเมินจาก ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการเรียนได้เลื่อนชั้น ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๔.๒ ประเมินผลเชิงคุณภาพประเมินจาก การสังเกตพฤติกรรม/แบบสอบถามของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย/แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านเขาแก้วใน (ปพ.5) โดยเปรียบเทียบกับ ภาคเรียนที่ ๑ และภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๔.๓ นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ประเมินจาก ผลการเรียนในแต่ละรายวิชา ใน ปพ.5
โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่าง ภาคเรียนที่ ๑ และภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๖. ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
๖.๑ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ทุกคน มั่นใจในตนเองกล้าแสดงความคิดเห็นมีทักษะกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน สามารถบูรณาการกับวิถีชีวิตในครอบครัวและท้องถิ่น
๖.๒ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ทุกคน เกิดแรงบันดาลใจในการแสวงหาความรู้
มีความสุขกับการแสวงหาความรู้ทั้งในห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้อื่นที่มีในครอบครัวและท้องถิ่นของตนเอง
๖.๓ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ทุกคน รักการเป็นอยู่อย่างพอเพียง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีความขยัน อดทน มานะพยายาม เห็นคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
๖.๔ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓ ร้อยละ ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
๖.๕ นักเรียนที่มีแนวโน้มออกกลางคัน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด กลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษาในโรงเรียน
๖.๖ นักเรียนปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรคระบาด Covid-๑๙ และอบายมุขทั้งปวง
๗. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
๗.๑ ด้วยกระบวนการที่สำคัญ ดังนี้
๗.๒ ร่องรอยหลักฐานระหว่างการพัฒนาที่แสดงว่าการดำเนินกิจกรรมนำไปสู่เป้าหมาย
๗.๒.๑ โครงการ/กิจกรรม/Best Practice
๗.๒.๒ การเผยแพร่ผลงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗.๒.๓ แบบสรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม
๗.๒.๔ ตารางเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ ๑-๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๗.๒.๕ ผลการทดสอบระดับชาติ o-net ปีการศึกษา ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔
๗.๒.๕ กิจกรรมและเกียรติบัตรที่ได้รับการยกย่องชมเชย ที่เกี่ยวข้อง