ชื่อเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน
โรงเรียนบ้านสร้างก่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
ผู้วิจัย นางสาวดารุณี อัคเทพ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านสร้างก่อ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านสร้างก่อ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ 3) พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ 4) ศึกษาผลการนำโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ ที่ได้พัฒนาขึ้นนำไปใช้
ผู้วิจัยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 100 แห่ง จำนวน 300 คน แต่ละโรงเรียนเก็บข้อมูลจาก ผู้อำนวยการ ครูวิชาการ และครูผู้สอน สำหรับกลุ่มตัวอย่างใช้โปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และดัชนีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModifiled)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
ผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ไปใช้พัฒนา
ภาวะผู้นำสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ สามารถสรุปผลตามความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน
โรงเรียนบ้านสร้างก่อ จากการวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ จากนั้นนามาสังเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำ
เชิงสร้างสรรค์ได้องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
1) องค์ประกอบหลักด้านการมีจินตนาการ มีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความคิด
สร้างสรรค์ (2) อารมณ์ขันในการทำงาน และ (3) มีสติปัญญาในการแก้ไขปัญหา 2) องค์ประกอบย่อย
ด้านการมีวิสัยทัศน์ มีองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สร้างภาพอนาคตอย่างชัดเจน
(2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (3) การมีส่วนร่วม (4) กำหนดเป้าหมาย และ (5) ค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา
ด้วยวิธีการใหม่ ๆ 3) องค์ประกอบหลักด้านความยืดหยุ่น มีองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ ได้แก่
(1) การคิดนอกกรอบ และ (2) ความอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ทั้ง 3 องค์ประกอบหลัก และ
มีพฤติกรรมบ่งชี้ จำนวน 45 ตัวบ่งชี้
2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำ
เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.1 ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค
สำหรับนักเรียน พบว่า สภาพปัจจุบันการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโดยรวม
อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 การวิเคราะห์ความสำคัญของความต้องการจำเป็นขององค์ประกอบภาวะผู้นำ
เชิงสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียน
บ้านสร้างก่อ มากที่สุด คือ ด้านความยืดหยุ่น รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีจินตนาการและด้านวิสัยทัศน์
3. ผลการประเมินโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน
โรงเรียนบ้านสร้างก่อ
3.1 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำ
เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก
3.2 ค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ทรงคุณวุฒิต่อโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำ
เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.081.00
เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4. ผลการศึกษาการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ไปใช้พัฒนาภาวะผู้นำ
เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อ ไปใช้
4.1 การวิเคราะห์ค่ามัธยฐานของคะแนนหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำ
เชิงสร้างสรรค์ สูงกว่ามัธยฐานของคะแนนก่อนใช้โปรแกรมของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
4.2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจนักเรียนโรงเรียนบ้านสร้างก่อมีความพึงพอใจ
โปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Title The Developing creative leadership programs for students
Bansangkor School,Udon Thani primary educational area office 4
Researcher Miss Darunee Akkhathep
Position School director as Senior Professional Level.
Workplace Bansangkor School, Kut Chap District, Udon Thani Province
Udon Thani primary educational area office 4
Year 2020
abstract
This research aims to 1) study elements and creative leadership indicators for students. Bansangkor School 2) Study current and desirable conditions, strengthen creative leadership for students at Bansangkor School 3) Develop creative leadership enhancing programs for students at Bansangkor School 4) Study the results of the implementation of creative leadership enhancing programs for students at
Bansangkor School that has been developed.
The researcher studied the concept theory of Creative Leadership Analysis of current and desirable conditions strengthening creative leadership for students at
Bansangkor School using questionnaires from a sample 100 schools to 300 people of the basic education commissions, each school collected information from the director students and teachers used creative leadership enhancing programs for junior high school education. 96 people used to collect data include: Feedback questionnaire form on current and desirable conditions, creative leadership for students at Bansangkor School, assessment of the suitability and feasibility of the Creative Leadership Strengthening Program for Students of Bansangkor School. Statistics used to analyze data are percentage, average ( ), standard deviation (S.D), and need essential priority sort index (PNIModifiled).
The findings appear as follows:
Findings on The Development of Creative Leadership Program for
Development Leadership for students at Bansangkor School The results can be
summarized according to the intent of the research as follows
1. Results of study, composition and creative leadership indicators for
students Bansangkor School based on the analysis of documents, concepts. Related
research theories synthesizes elements of leadership. Creatively, there are three
elements of creative leadership: 1) The main elements of imaginativeness have 3
sub-elements: (1) ideas creative (2) work humor and (3) intelligence to solve problems,
2) sub-elements in terms of vision, there are 5 sub-elements: (1) create a clear vision.
(2) Learning exchanges, (3) participation, (4) targeting, and (5) finding solutions. With
new methods, 3) The main elements of flexibility have 2 sub-elements: (1) Thinking
outside the box and (2) freedom does not fall under the rules of all three main
elements, and Behavior indicates 45 indicators.
2. Results of studies of current conditions and desirable conditions for
strengthening Leadership Creative for students under the Office of the Basic Education
Commission
2.1 Analysis of current and desirable conditions of constructive
leadership For students, it was found that the current conditions strengthened creative
leadership for students the high level as a whole. As for the desirable conditions,
strengthening creative leadership for students the highest level as a whole.
2.2 Analysis of the importance of the necessary needs of leadership
Elements Creatively important for enhancing creative leadership for school students
the most resilient is the resilience side, second only to imagination and vision.
3. Evaluation of creative leadership programs for Bansangkor School
3.1 Results of the appropriateness check of leadership strengthening
Programs Creatively for students from 7 experts found that overall, it was the high
level appropriate.
3.2 The consistency index of qualified persons to the leadership
strengthening Program Creative for students at Bansangkor School is
between 0.08 1.00
4. Results of the study of the implementation of creative leadership
programs to develop leadership Creative for students at Bansangkor School to use
4.1 Median analysis of scores after using leadership enhancing programs
Creatively, statistically significantly higher than the median of pre-program scores of
students. at .01
4.2 The results of the analysis of student satisfaction at Bansangkor
School are sufficiently desirable. Creative Leadership Program for Students. It was
found that the overall picture was high level.