ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
ผู้วิจัย นางสาวดารุณี อัคเทพ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านสร้างก่อ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
ปีที่วิจัย 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน การวิจัยมี 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี จำนวน 520 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ S.D. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
แบบเพียร์สันและสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์การศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ และ S.D. ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะด้านความพอเพียงและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ และ S.D.
ผลการวิจัยสรุป ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ 1) หลักการและความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา
4) กิจกรรมและเครื่องมือการพัฒนา และ 5) การประเมินผล โดยมีวิธีการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การจัดหน่วยการจัดเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผล มีวิธีการพัฒนา 4 วิธี ดังนี้ 1) การศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ
3) การอบรมเพิ่มเติมความรู้ และ 4) การเป็นพี่เลี้ยง และ พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
มีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน พบว่า
3.1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทุกข้อในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 96.25 และนักเรียนมีคุณลักษณะ อยู่อย่างพอเพียง ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 97.67 ปีการศึกษา 2562 โดยรวม
ทุกข้อในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 93.86 และนักเรียนมีคุณลักษณะ อยู่อย่างพอเพียง ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 92.51 สรุปได้ว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไปโดยรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้น
3.2 นักเรียนมีค่ามัธยฐานของคะแนนหลังการพัฒนาด้านความพอประมาณ มีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี สูงกว่าค่ามัธยฐานของคะแนนก่อนการพัฒนาด้านความพอประมาณ
มีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี สูงกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านสร้างก่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Title The development of learning activity model integrated the philosophy of
Sufficiency economy to create the self-sufficient attributes of students.
Researcher Miss Darunee Akkhathep
Position School director as Senior Professional Level.
Workplace Bansangkor School, Kut chap District, Udon Thani Province
Udon Thani primary educational area office 4
Year 2019-2020
abstract
This research aims to 1) study current and desirable conditions, organize teacher learning activity model integrated the philosophy of sufficiency economy to create the self-sufficient attributes of students, 2) develop teacher learning activities model integrated them according to the philosophy of sufficiency economy to create the self-sufficient attributes of students 3) Study the results of the use of teacher learning activity model integrated the philosophy of the sufficiency economy to create the self-sufficient attributes of students. There are three phases of research: Phase 1: studying current and desirable conditions, organizing teacher learning activity model integrated them according to the philosophy of sufficiency economy. The sample includes administrators and teachers. The school expanded educational opportunities under the Udon Thani Provincial Education Office by 520 students. Statistics used include S.D., Pearson correlation coefficient and Cronbach alpha coefficient, and PNIModified.
Phase 2: Development of learning activity models of teachers. By integrated the philosophy of the sufficiency economy to create the self-sufficiency attributes of students. using the selection method Purposive Sampling. Statistic used, the tools used include interview form education best practice. Assessment form for suitability statistics used include and S.D.
Phase 3: Study the results of the use of integrated learning activities based on the philosophy of sufficiency economy to create the Self-sufficiency of students Tools used include self-sufficient feature measurements and satisfaction questionnaires. The statistics used are and S.D.
The findings are summarized as follows:
1. The current condition of learning activities is integrated according to the philosophy of sufficiency economy to create the self-sufficient attributes of students as a whole and individually. All aspects are very level and the overall desirable conditions are at the highest level.
2. The results of the development of a learning activity model by integrating the philosophy of sufficiency economy to create the self-sufficient attributes of students. It was found that the learning activity model is integrated according to the philosophy of sufficiency economy to create the characteristics. Self-sufficiency of students consists of 5 parts: 1) Principles and importance. 2) Objectives 3) Content 4) Activities and development tools and 5) Evaluation with teacher development methods for organizing 4 learning activities as follows: Element 1: Organizing a learning unit Element 2: Learning Integration Element 3 Media and Learning Resources and Element 4 Measurement and Evaluation There are 4 development methods: 1) Study, view work, 2) meeting. Workshop 3) Additional knowledge training and 4) Mentoring and found that the learning activity model integrated according to the philosophy of Sufficiency Economy to create the self-sufficient attributes of students is the most appropriate and overall benefit.
3. The results of the assessment of self-sufficiency characteristics for students showed that
3.1 The desirable characteristics of learners according to the Core Course of Basic Education 2008, academic year 2020, including all at a better level, represented 96.25 percent, and students had an improved level of "self-sufficient" characteristics, representing 97.67 percent in the 2019 academic year, including all at a better level, 93.86 percent, and students with "sufficient self-sufficient" attributes at an improved level, representing 92.51 percent. According to the philosophy of the sufficiency economy, to promote the self-sufficiency attributes of students developed by the researchers, the number of students with desirable attributes is at a better level overall.
3.2 Students have a median score after moderation development. Rationality and good built-in immunity are higher than the median of scores before moderation development. Rationality and good self-immunity are statistically significantly higher than 80 percent. At .01
4. Results of satisfaction assessment of philosophical learning activities of the sufficiency economy. Bansangkor School, Udon Thani Elementary School District 4, found the highest level of overall satisfaction.