บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองงูเห่าศาสตร์ประเสริฐจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ 1) เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองงูเห่าศาสตร์ประเสริฐ 2) เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลชช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองงูเห่าศาสตร์ประเสริฐ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของ ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองงูเห่าศาสตร์ประเสริฐ
รูปแบบการประเมินโครงการใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ประเมินในด้านสภาพแวดล้อม (Context) ประเมินด้านปัจจัย (Input) ประเมินด้านกระบวนการ (Process) และประเมินด้านผลผลิต (Product) สำหรับผลกระทบผู้้รายงานประเมิน พฤติกรรมของนักเรียนตามมาตรฐานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 6 ตัวบ่งชี้ และประเมินความพึงพอใจของครู
ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยประชากร ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองงูเห่าศาสตร์ประเสริฐ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน ไม่รวมผู้รายงานกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 110 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจงจากผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบปโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฉบับที่ 2 แบบประเมินการจัดกิจกรรมตามโครงการ ฉบับที่ 3 แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 6 ตัวบ่งชี้ และฉบับที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ ทั้ง 4 ฉบับเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหนองงูเห่าศาสตร์ประเสริฐ สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหนองงูเห่าศาสตร์ประเสริฐ สรุปได้ว่า ผลการประเมินต้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตที่เกี่ยวกับการศึกษา นักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไข และการส่งต่อ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. การประเมินกิจกรรมตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 16 กิจกรรม สรุปได้ว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก กิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 15 กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี (DAY CAMP) มีผลการประเมินอยู่ใน ระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน และ รองลงมา คือ กิจกรรมที่ 14 กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ยประโยชน์(5ส.)
3. การประเมินผลกระทบด้านพฤติกรรมนักเรียนตามมาตรฐานในระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียน 6 ตัวบ่งชี้ สรุปได้ว่า โดยภาพรวมทุกตัวบ่งชี้มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินความพึงพอใจ ของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีผลต่อการดำเนินโครงการ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปได้ว่า ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ครูและผู้ปกครองมีความมพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการสอดคล้องกันในการจัดกิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม และความมีวินัยในตนเอง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด แตกต่าง กับนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านศิลปะ ดนตรี กีฬาและฝึกวิชาชีพ ซึ่งมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด