บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ PEOPLES MODEL โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 - 2564 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ PEOPLES MODEL ปีการศึกษา 2563 -2564 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนตะโหมด หลังการพัฒนาโดยใช้ PEOPLES MODEL ปีการศึกษา 2561 และ 2564 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ PEOPLES MODEL โรงเรียนตะโหมด หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 - 2564 5) เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนาที่ปรากฏต่อโรงเรียนตะโหมด ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,218 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 76 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,218 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้แทนองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกผลการสังกตพฤติกรรมที่สะท้อนความเป็นคนมีดีตามสภาพจริง โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้สังเกตนักเรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีการตรวจ สอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS
ผลการวิจัยพบว่า
1) สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ PEOPLES MODEL โรงเรียนตะโหมต ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก
(X ̅ = 3.77, S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.93, S.D.= 0.72) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( X ̅ =3.79, S.D. = 0.15) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (X ̅ = 3.67, S.D. = 0.69)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.45, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณาจำเนกตามกลุ่มผู้ตอบเบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.52, S.D. = 0.11) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.51, S.D. = 0.15) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (X ̅ = 4.39, S.D. = 0.11) สอดคล้องตามสมมติฐาน
2) สรุปผลการวิเคราะห์ระดับการการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะ ความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ PEOPLES MODEL โรงเรียนตะโหมต ปีการศึกษา 2563-2564 จำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมผู้เกี่ยวข้องมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.63, S.D.= 0.11) และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้แทนจากองค์กรชุมชน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X ̅ = 3.84, S.D.= 0.11) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะการมการสถานศึกษาขึ้นฟื้นฐาน (X ̅ = 3.71. S.D.= 0.16) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.50, S.D.= 0.76)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมผู้เกี่ยวข้องมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (X ̅ = 4.40, S.D.= 0.68) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้แทนจากองค์กรชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.54, S .D.= 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู ( X ̅ = 4.51, S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X ̅ = 4.35, S.D. = 0.12) อยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
3) ผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ PEOPLES MODFLโรงเรียนตะโหมด หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 และ 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ (1) ซื่อสัตย์ (2) มีวินัย (3) ความรับผิดชอบ (4) ประหยัด (5) มีจิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 93.07-95.06
ปีการศึกษา 2564 คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ (1) ซื่อสัตย์ (2) มีวินัย (3) ความรับผิดชอบ (4) ประหยัด (5) มีจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 93.05-95.70 แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะความเป็นคนคีของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2563 ทุกด้าน สอดคล้องตามสมมติฐาน
4) สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนองค์กรชุมชนในการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ PEOPLES MODEL โรงเรียนตะโหมด หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.59, S.D. = 0.37) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.74, S.D. = 0.83) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้แทนองค์กรชุมชน อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.61, S.D.= 0.13) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน (X ̅ = 3.51, S.D.= 0.81)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
(X ̅ = 4.51, S.D.= 0.64) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.52, S.D.= 0.12, 0.08, 0.09) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มนักเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.51, S.D.= 0.10) ส่วนกลุ่มหรือเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.42, S.D.= 0.11) สอดคล้องตามสมมติฐาน
5) สรุปผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนาที่ปรากฏต่อโรงเรียนตะโหมด ผู้บริหาร ครู และนักเรียน พบว่า ส่งผลให้โรงเรียนตะโหมด ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ได้รับการประกาศเกียรติคุณ จากองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษา ทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับภาค/จังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งสองปีการศึกษารวมจำนวนทั้งสิ้น 378 รายการ เมื่อพิจารณาแยกตามระดับพบว่า ได้รับการประกาศเกียรติคุณระดับนานาชาติ จำนวน 2 รายการ ระดับชาติ จำนวน 86 รายการ ระดับภาค/จังหวัด จำนวน 72 รายการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 30 รายการและโรงเรียนตะโหมดเป็นแหล่งเรียนรู้ของหน่วยงานทางการศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ทั้งสองปีการศึกษา จำนวน 4 รายการ กลุ่มคณะ รวม 73 คน