รายงานการศึกษา การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ (GIFTED) โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP MODEL)
ผู้ศึกษา นายนิรุจน์ นครศรี
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงอนุบาลขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
รายงานผลการดำเนินงานโครงการ การศึกษาการส่งเสริมโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (GIFTED) โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2563 โดยมีวัตถุประสงค์การประเมิน 1) เพื่อศึกษาความก้าวหน้า สภาพปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินการโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (GIFTED)
2) เพื่อศึกษาความรู้และทักษะแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพด้านการเข้าค่ายวิชาการ การศึกษายังแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมสอนเสริม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีต่อ โครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (GIFTED) 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (GIFTED) นำเนินการโดย 1) นำรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP MODEL) (Context Input Process - Product) มาใช้ในการประเมินโครงการซึ่งประกอบด้วย (1) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมโครงการ
(2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (3) การประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
(4) การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
จากผลการประเมินสรุปได้ว่า
1. สรุปผลการนำรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP MODEL) (Context Input Process - Product) มาใช้ในการประเมินโครงการซึ่งประกอบด้วย
1) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมโครงการ สรุปภาพรวมได้ว่าผู้บริหารโรงเรียน ครูวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์มีความคิดเห็นด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการอยู่ในระดับมาก คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 ( =4.05, S.D = 0.48)
2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ สรุปภาพรวมได้ว่าผู้บริหารโรงเรียน ครูวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์มีความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการอยู่ในระดับมาก คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 ( = 3.72 S.D = 0.68 )
3) การประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ สรุปภาพรวมได้ว่าผู้บริหารโรงเรียน ครูวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์มีความคิดเห็นด้านกระบวนการดำเนินโครงการของโครงการอยู่ในระดับมาก คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 ( = 3.75, S.D = 0.46)
4) การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ สรุปภาพรวมได้ว่าผู้บริหารโรงเรียน ครูวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการด้านสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 ( = 4.37, S.D = 0.39)
2. ศึกษาความรู้และทักษะแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ประเมินตามผลผลิตของโครงการ) สรุปภาพรวมได้ว่าครูวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านความรู้และทักษะแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพด้านการเข้าค่ายวิชาการ การศึกษายังแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมสอนเสริม แยกเป็น
กิจกรรมการเข้าค่ายวิชาการ สรุปภาพรวมได้ว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพด้านการเข้าค่ายวิชาการ ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.09 ( = 4.76, S.D = 1.09)
กิจกรรมด้านการศึกษายังแหล่งเรียนรู้ สรุปภาพรวมได้ว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพด้านการศึกษายังแหล่งเรียนรู้ ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 ( = 4.72, S.D = 0.58)
กิจกรรมด้านการสอนเสริม สรุปภาพรวมได้ว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพด้านการสอนเสริม ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 ( = 4.63, S.D = 0.65)
4. ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีต่อโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (GIFTED) สรุปภาพรวมได้ว่าความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีต่อโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ประเมินอยู่ในระดับมาก คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82 ( = 4.42, S.D = 0.82)
5. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (GIFTED) สรุปภาพรวมได้ว่าความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (GIFTED) ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ( = 4.57, S.D = 0.66)