บทนำและความสำคัญของปัญหา
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา เป็นพื้นฐานที่นักเรียนจะนำไปใช้ ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับสูงต่อไป คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนําไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
จากการศึกษางานวิจัยทางการศึกษา ผู้วิจัย พบว่า แบบฝึกทักษะ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนได้ดียิง ช่วยเสริมทักษะ รู้จักเหตุและผล ฝึกฝนไหวพริบ สติปัญญา ให้เกิดความคล่องแคล่วชำนาญ มองเห็นความกาวหน้าของตนเอง นักเรียนสามารถศึกษาปฏิบัติกิจกรรมได้ด้วยตัวเอง
ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่อยู่ปลายปีและมักจะเกิดปัญหาการสอนไม่เพียงพอ ซึ่งบทเรียนนี้ประกอบด้วยเนื้อหา เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก นักเรียนสามารถศึกษาและทำแบบฝึกหัดควบคู่ไปพร้อมกับการทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้น และใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์ รู้จักการศึกษาด้วยตนเอง
จากความเป็นมาและความสำคัญและปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติและปริ มาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิงขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะ
สมมุติฐานของการวิจัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
วิธีดำเนินการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบ้านพริก
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 48 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตร ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก จำนวน 10 ข้อ
3. วิธีดำเนินการวิจัย
1) ทำการทดสอบก่อนเรียน (pre-test) เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตร ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก จำนวน 10 ข้อ คะแนนที่ได้เป็นคะแนนการทดสอบก่อนเรียน
2) ดำเนินการสอนซ่อมเสริมวิชา คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยใช้แบบฝึกทักษะ เป็นเวลา 3 สัปดาห์
3) ทำการทดสอบหลังเรียน (post-test) เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตร ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก จำนวน 10 ข้อ คะแนนที่ได้เป็นคะแนนการทดสอบหลังเรียน
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน มาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ด้วยการหาค่าร้อยละเป็นรายบุคคล
สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ ดังแสดงในตาราง
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนนักเรียน (คน)
ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวนนักเรียน (คน)
ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ค่าเฉลี่ยร้อยละ
ของนักเรียนทั้งหมด
ก่อนการวิจัย 15 33 57.10
หลังการวิจัย 34 14 81.90
จากตาราง พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ แบบฝึกทักษะ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสูงขึ้น แสดงว่า การใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
2. สรุปผลการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
3. อภิปราย
จากการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง รูปเรขาคณิต สามมิติและการหาปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสูงขึ้น และค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนแตกต่างกันมากถึง 39.58 แต่การประเมินผลได้กำหนดเกณฑ์การผ่านในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ไว้ร้อยละ 80 ผู้วิจัยจึงพิจารณาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 พบว่า มีนักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป มีจำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 70.83 และยังมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 29.27 ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 อีกครั้ง หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ ผู้วิจัยให้นักเรียน ที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์มาทดสอบหลังเรียนอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้แบบทดสอบคู่ขนานกับชุดเดิม พบว่า นักเรียนทุกคนสามารถสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4. ข้อเสนอแนะ
1) จากการจัดกิจกรรมพบว่า นักเรียนใช้เวลาในการทำแบบฝึกทักษะที่ต่างกัน เนื่องจาก นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านการเรียนรู้ ดังนั้น ครูผู้สอน ควรมีความยืดหยุ่นเวลาที่ใช้ในการทำแบบฝึกทักษะให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน
2) ครูผู้สอนควรให้กำลังใจ คำชมเชย หรือรางวัลแก่นักเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนอยาก มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ เรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน