ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะคิดคล่อง คำนวณคล่อง ด้วยเกมสูตรคูณ
ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสุนันทา สุขปลั่ง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
มาตรฐานคุณภาพการศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ การเรียนคณิตศาสตร์ให้ดีได้นั้นก็จะ ทำได้ยาก จากการได้ทดสอบนักเรียนปีการศึกษาที่ผ่าน ๆ มาได้พบปัญหา คือ นักเรียนมีทักษะการคูณและหารที่ไม่ดี โดยส่วนมากจะคูณผิดและหารผิด หรือบางคนทำได้แต่ทำได้ช้ามาก จึงทำการสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับปัญหานี้ ปรากฏว่า นักเรียนส่วนน้อยไม่เข้าใจในวิธีการคิด แต่ส่วนมากทำไม่ได้เพราะ ท่องสูตรคูณไม่ได้ หรือท่องได้แต่ท่องได้ช้ามาก พอถาม เช่น 7 x 8 ได้เท่าไร นักเรียนจะเริ่มท่องสูตรคูณแม่เจ็ดใหม่จนถึง 7 x 8 จึงทำให้เกิดความคิดที่จะแก้ปัญหาในเรื่องการท่องสูตรคูณนี้
ในปัจจุบันมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากมีความคิดในแง่ลบเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ เช่น ยาก น่าเบื่อ เรียนไม่เก่ง เด็กเก่งเท่าที่จะเรียนคณิตศาสตร์รู้เรื่องเรียนไปก็ไม่ได้ใช้เพราะมีเครื่องคิดเลข เป็นต้น ซึ่งจากความคิดเหล่านี้จะนำพาไปสู่ความไม่ตั้งใจเรียน แต่ถ้ามอง ให้ลึกลงไปในปัญหาจริง ๆ แล้ว การที่นักเรียนไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์เป็นเพราะมีพื้นฐานในการคำนวณที่ไม่ดี เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร หรือแม้กระทั่งการท่องสูตรคูณที่ใครหลายคนมองข้าม ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจในการท่องสูตรคูณเป็นสิ่งที่สำคัญในการคิดคำนวณ ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นักเรียนที่ท่องสูตรคูณไม่คล่อง จะคิดคำนวณได้ช้า ได้คำตอบที่ผิดและไม่สนุกกับการเรียน ซึ่งการแก้ปัญหามีด้วยกันหลายวิธี เช่น การให้นักเรียนท่องสูตรคูณพร้อมกันให้ท่องเป็นรายบุคคล เป็นต้น
ผู้วิจัยได้ทำการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563 จากการสังเกตขณะสอน และผลการเรียนพบว่า นักเรียนที่ขาดทักษะทางด้านการคำนวณ มีผลการเรียนที่ไม่ค่อยดีนัก เมื่อครูถามคำถามเกี่ยวกับการคูณหรือสูตรคูณ มีนักเรียนที่ตอบคำถามไม่ได้ หรือตอบผิด ซึ่งเป็นผลจากการที่นักเรียนยังขาดทักษะด้านการบวก ลบ คูณ หาร ส่วนหนึ่งมาจากการท่องสูตรคูณไม่แม่นยำเท่าที่ควร
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้พยายามหาแนวทางที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถท่องสูตรคูณได้ และสามารถนำไปใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบฝึกท่องสูตรคูณ ก่อนและหลังใช้เกมสูตรคูณ
นักเรียนสามารถท่องสูตรคูณได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการเรียน และชีวิตประจำวันได้
สมมุติฐานของการวิจัย
เกมการศึกษาท่องสูตรคูณที่ให้นักเรียนใช้ สามารถแก้ปัญหาการท่องสูตรคูณได้ ทำให้นักเรียน
มีพื้นฐานการคำนวณที่ดีขึ้น สามารถทำแบบทดสอบการท่องสูตรคูณผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 และมีค่าเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังฝึกมากกว่าก่อนฝึก
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ 2 เกม
1. เกมโดมิโนสูตรคูณ
2. เกมบิงโกสูตรคูณ
ตัวแปรตาม ได้แก่ นักเรียนสามารถท่องสูตรคูณได้คล่องขึ้น และมีพื้นฐานการคำนวณที่ดีขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้
นักเรียนสามารถท่องสูตรคูณได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบการท่องสูตรคูณหลังการใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80
ช่วยพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน 4 สัปดาห์ ( 1 เดือน )
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบทดสอบการท่องสูตรคูณ จำนวน 100 ข้อ กำหนดให้ทำ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที แบบเติมคำตอบ (สูตรคูณแม่ 2 ถึง แม่ 12) จำนวน 100 ข้อ
เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ 2 เกม ประกอบด้วย
เกมโดมิโนสูตรคูณ
เกมบิงโกสูตรคูณ
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
การหาค่าเฉลี่ย
การหาค่าร้อยละ
ผลต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียน ( D )
การเก็บรวบรวมข้อมูล
สำหรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการ ดังนี้
ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับเกมการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเลือกเกมการศึกษาท่องสูตรคูณ 2 เกม
การสร้างแบบทดสอบการท่องสูตรคูณจำนวน 100 ข้อ เพื่อใช้วัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ
ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนที่ท่องสูตรคูณไม่คล่องมาทำแบบทดสอบการท่องสูตรคูณ แม่ 2 ถึง 12 จำนวน 100 ข้อ กำหนดเวลา 30 นาที
ให้นักเรียนฝึกท่องสูตรคูณด้วยการเล่มเกมโดมิโนสูตรคูณและเกมบิงโกสูตรคูณสลับกันไปก่อนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ทุก ๆ วัน เป็นเวลา 2 เดือน ( พักกลางวัน, เวลาว่าง )
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังการท่องสูตรคูณ แม่ 2 ถึง 12 จำนวน 100 ข้อ กำหนดเวลา 30 นาที
วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบการท่องสูตรคูณ และเก็บเป็นข้อมูลเชิงสถิติต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัย ได้ดำเนินการดังนี้ ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยของคะแนน
ที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบผลการทดสอบฝึกท่องสูตรคูณ ก่อนและหลังใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏผลการทดสอบดังตาราง
ผลการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงคะแนนจากการทำแบบทดสอบการท่องสูตรคูณ 100 ข้อ ก่อนและหลัง
การใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ ของนักเรียน 15 คน
ลำดับ ชื่อ - สกุล คะแนนแบบทดสอบ
ก่อนฝึก หลังฝึก
1. เด็กหญิงเจนจิรา สีนิ่ม 38 85 47
2. เด็กชายธันวา สุวรักษ์ 35 87 52
3. เด็กชายสุบรรณ ขันขาว 30 83 53
4. เด็กชายจิรายุ ช้างอ่อน 24 89 65
5. เด็กชายนที เหลืองวัฒนะ 40 90 50
6. เด็กชายสิทธิศักดิ์ กุลบุตร 28 80 52
7. เด็กชายอติชาติ วงษ์สืบ 34 87 53
8. เด็กชายธนากร พวงทอง 20 80 60
9. เด็กหญิงวีวรยา สวัสนนทรี 31 84 53
10 เด็กหญิงวรรณวิสา มะลิซ้อน 27 81 54
ลำดับ ชื่อ - สกุล คะแนนแบบทดสอบ
ก่อนฝึก หลังฝึก
11. เด็กชายอนุรักษ์ นนจันทร์ 29 86 57
12. เด็กหญิงวิภาพร ประกอบพร 32 82 50
13. เด็กชายวัชรสรณ์ โพธิ์เขียว 25 80 55
14. เด็กชายธนพล เจียมพระพาย 22 84 62
15. เด็กชายณัฐกรณ์ มะลิลา 37 91 54
รวม 452 1,269 817
ค่าเฉลี่ย 30.13 84.60 54.47
ร้อยละ
จากตารางที่ 1 พบว่า คะแนนทดสอบการท่องสูตรคูณ ก่อนและหลังใช้เกมการศึกษาท่อง สูตรคูณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563 มีค่าร้อยละ 33.40 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าคะแนนหลังฝึก ร้อยละ 89.10 และนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80
ส่วนผลการทดสอบหลังใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ย = 89.10 คิดเป็นร้อยละ 89.10 ซึ่งเป็นตามสมติฐานที่ตั้งไว้
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบฝึกท่องสูตรคูณ ก่อนและหลังใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563 พบว่า นักเรียนทุกคน ทำแบบทดสอบหลังฝึกผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 55.70 ของคะแนนทดสอบก่อนฝึก
2. ผลการใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณทั้ง 2 เกม สามารถทำให้นักเรียนมีการจดจำสูตรคูณแม่นยำมากขึ้น และสามารถท่องสูตรคูณได้คล่องขึ้น
อภิปรายผลการวิจัย
การเปรียบเทียบผลการทดสอบฝึกท่องสูตรคูณ ก่อนและหลังใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ
ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563 สามารถอภิปรายผล
ได้ดังนี้
1. ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบการท่องสูตรคูณก่อนและหลังใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563 คะแนนทดสอบหลังฝึกมีค่าร้อยละ 89.10 ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คะแนนทดสอบหลังฝึก มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า คะแนนทดสอบก่อนฝึกอยู่ 55.70 คะแนน ทั้งนี้การแก้ปัญหาการท่องสูตรคูณไม่คล่อง เพื่อพัฒนาการคิดคำนวณ ด้วยการใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563 ที่ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้านั้นเมื่อพิจารณาสอดคล้องกับการแก้ปัญหาพื้นฐานในการคิดคำนวณด้วยการฝึกคิดในใจได้ งานวิจัยนี้สามารถเข้าถึงผู้เรียนได้ง่าย ด้วยวิธีการ ที่ไม่ซับซ้อน สามารถฝึกด้วยตนเองได้
2. ผลการใช้เกมการศึกษาท่องสูตรคูณทั้ง 2 เกม สามารถทำให้นักเรียนมีการจดจำสูตรคูณ มากขึ้น สามารถท่องสูตรคูณได้คล่องขึ้น ฝึกการคิดเลขในใจมากขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาการคิดคำนวณ อีกทั้งอาจเป็นเพราะว่า วิธีการต่างจากการท่องแบบเดิม ซึ่งการใช้เกมการศึกษาการท่องสูตรคูณ 2 เกม สามารถแก้ปัญหาการท่องสูตรคูณไม่คล่อง เพื่อพัฒนาการคิดคำนวณได้จริงตามสมมติฐาน
ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
ควรมีการทดสอบความสามารถในการท่องสูตรคูณในทุกระดับชั้น เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการคิดคำนวณได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้
1. ครูผู้สอนควรนำเสนอเกมการศึกษาท่องสูตรคูณที่หลากหลายกว่านี้
2. ครูผู้สอนควรปลูกฝังให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการคำนวณ
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ครูผู้สอนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการเรียนการสอนในวิชาอื่น ๆ ได้
2. ครูผู้สอนสามารถศึกษาปัญหาหรือปัจจัยอื่นที่มีผลต่อพื้นฐานการคิดคำนวณของนักเรียนต่อไป