บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชั้นบรรยกาศ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา11(มัธยมสาธิตพัทยา) กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน สื่อวีดีทัศน์จากอินเทอร์เน็ตชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ครูผู้สอน เพื่อนคู่คิด หัวหน้างานวิชาการ และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ร่วมปฏิบัติการชี้แนะและสอนงานพี่เลี้ยงผ่านการพัฒนาบทเรียนกับผู้วิจัย ทั้ง 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 2 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในห้องเรียน ขั้นที่ 4 สะท้อนความคิด ขั้นที่ 5 ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องชั้นบรรยากาศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละ
สรุปผลการวิจัยพบดังนี้
หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชั้นบรรยากาศ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา11(มัธยมสาธิตพัทยา) โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย 75.11 อยู่ในระดับ ดี
จากการสะท้อนคิดพบว่า การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 สูงขึ้นจริง มีการใช้สื่อวีดีทัศน์มาช่วยในการสอนและจากกระบวนการทำ PLC ช่วยให้เห็นแนวทางการปรับแก้ไขการสอน การเรียนของนักเรียนอย่างชัดเจน
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา11 (มัธยมสาธิตพัทยา) การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
2. ขอบเขตของการวิจัย
2.1 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ½ โรงเรียนเมืองพัทยา 11
(มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน
2.2 ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชั้นบรรยากาศของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
2.3 เนื้อหาวิชาที่ใช้ในการศึกษา คือ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ชั้นบรรยากาศ ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รหัสวิชา ว 21103 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน2
3. วิธีดำเนินการ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
3.1 เครื่องมือวิจัย
3.1.1 เครื่องมือทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
3.1.2 เครื่องมือวิจัย คือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง ชั้นบรรยากาศ แบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก ตามระดับการคิดด้านพุทธพิสัยของบลูม จำนวน 10 ข้อ สร้างโดยผู้วิจัย
3.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม
1.1 ได้เตรียมวางแผนทำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพนำไปทดลองดังนี้
1) องค์ประกอบของกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ได้แก่
1.1) ครูผู้วางแผน (Planer)
1.2) ครูผู้ร่วมวางแผน (Co-Teacher)
1.3) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ (Mentor)
1.4) ผู้เชี่ยวชาญ
กระบวนการที่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพใช้คือ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study)
ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (Analyze) รายวิชาที่สอนโดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะสอน ระบุตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ ออกแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) ได้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่
1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ตามตัวชี้วัด 16
2) สาระการเรียนรู้
3) กิจกรรมการเรียนรู้
4) การประเมินการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) เป็นขั้นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพประกอบด้วยครู ผู้วิจัย ครูผู้ร่วมคิด ครูพี่เลี้ยง และผู้บริหาร ให้การชี้แนะ ให้คำปรึกษาในการออกแบบการสอน เพื่อเป็นการปรับและเสริมให้แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพอย่างรวมพลัง พร้อมทั้งพิจารณาสื่อการเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Do & See) ผู้วิจัยนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปทดลองสอน ในขณะเดียวกันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทำหน้าที่สังเกตการสอน โดยสังเกตพฤติกรรมนักเรียน สะท้อนพฤติกรรมครู ตลอดจนการจัดการชั้นเรียนในเรื่องต่างๆ เช่น การใช้ใบกิจกรรม การจัดการใช้กระดาน การจัดโต๊ะเรียน การจัดการเวลา เพื่อเป็นข้อมูลในการสะท้อนคิด
ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนคิด (Reflect) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สะท้อนถึงความสำเร็จ จุดเด่น และจุดที่ต้องแก้ไขในการจัดการเรียนการสอน พฤติกรรมเด็ก พฤติกรรมครู แนะนำวิธีปรับ วิธีแก้ไขผลการเรียนรู้ของนักเรียน
ขั้นที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Redesign) เป็นขั้นที่ผู้วิจัยนำบทเรียนที่ได้จากการสะท้อนคิดไปปรับปรุงในชั้นเรียนต่อ ในการนี้ก็จะมีการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
4. สรุปผล
4.1 สรุปผล
ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชั้นบรรยากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 75.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 อภิปรายผล
ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญในการจัดการศึกษาตามวิถี New Normal (ออนไลน์) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดครั้งใหญ่ที่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของนักเรียน โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทราบ เพิ่มความยืดหยุ่นของ โครงสร้างเวลาเรียนรู้และความหลากหลายของรูปแบบการเรียนรู้ของครูออกแบบหน่วยการเรียนรู้และสอน อย่างมีแผนที่เหมาะสมรวมถึงการยกระดับการประเมินเพื่อการพัฒนาเพื่อไม่ให้นักเรียนเสียโอกาสพัฒนาความรู้และ ทักษะในด้านต่างๆ แม้ไม่มีโควิด-19 ระบบการศึกษาไทยก็กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลาจากปัจจัยขับเคลื่อนจำนวนมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี 20 Technology ที่ทำให้ทักษะที่เป็นความต้องการเปลี่ยนไป และด้านการเมืองการปกครอง เช่น การดำเนินนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เช่นการเลื่อนเปิด ปิดในช่วง โควิด-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงที่รอทำอยู่ ให้เกิดขึ้นเร็วขึ้น เช่น การนำเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้มาใช้ในวงกว้างยิ่งขึ้น ด้วยสถานการณ์ โควิด-19 ข้างต้น จึงเป็นผลต่อการสอนทำให้ต้องสอนแบบออนไลน์ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์มาปรับใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่อง ชั้นบรรยากาศ ได้ดีและ นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนเรื่องอื่นๆต่อไป