1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covoid 19 ผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Line สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การมีสื่อ นวัตกรรม และเทคนิคการสอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและเข้าใจในเนื้อหาให้มากที่สุด ในเนื้อหาเรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว นักเรียนมีปัญหาในการดำเนินการทางสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวรวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เนื่องจากนักเรียนขาดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ อ่านไม่เข้าใจ วิเคราะห์โจทย์ไม่เป็น ขาดทักษะการแก้ปัญหาและไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ไม่ผ่านตัวชี้วัด จึงได้พัฒนาการเรียนสอนโดยการสร้างนวัตกรรมพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ มาใช้บูรณาการในการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาศักยภาพทางกระบวน
การคิด เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
2) เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 70 มีทักษะเกี่ยวกับเรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
3) เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 70 มีคะแนนการทดสอบเรื่อง สมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียวผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4) เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 70 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
3. เป้าหมาย
3.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาศักยภาพทางกระบวน
การคิด เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 70 มีทักษะเกี่ยวกับเรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปร
เดียว
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 70 มีคะแนนการทดสอบเรื่อง สมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียวผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 70 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
3.2 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
1) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะกระบวนการในการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
2) นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
4.1 ขั้นวางแผน (Plan)
1) ศึกษามาตรฐานตัวชี้วัด
2) ศึกษาการสร้างนวัตกรรมให้ครอบคลุมเรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
3) ศึกษาทฤษฎีการสอนหรือวิธีการสอน
4) ศึกษาเครื่องมือในการวัดผลประเมินผล
4.2 ขั้นดำเนินการตามแผน (Do)
1) ออกแบบนวัตกรรมให้ครอบคลุมเรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
2) สร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2) ออกแบบการจัดการเรียนการสอน
3) สร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผล
4) สร้างสื่อการเรียนการสอน
5) จัดการเรียนการสอน
4.3 ขั้นตรวจสอบ (Check)
1) นำผลคะแนนมาคิด วิเคราะห์ทางสถิติ
2) สรุปผล แปรผลคะแนน
4.4 ขั้นรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)
1) บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
2) ปรับปรุง พัฒนานวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
5. ผลการดำเนินงาน
ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อพัฒนาทักษะการคิด เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแประเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนวัดตะพงนอก เป็นดังนี้
1) ผลการทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีคะแนนรวม 104
คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 3.06 คิดเป็นร้อยละ 30.59
2) ผลการทำแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว (1) มีคะแนนรวม
275 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 8.00 คิดเป็นร้อยละ 66.67
3) ผลการทำแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว (2) มีคะแนนรวม
259 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 7.62 คิดเป็นร้อยละ 63.48
4) ผลการทดสอบหลังเรียน เรื่อง ผลการทดสอบหลังเรียน เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
มีคะแนนรวม 220 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 6.47 คิดเป็นร้อยละ 67.71
5) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน( ความต่าง) เพื่อหาค่าความก้าวหน้าทางการเรียนของ
แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อพัฒนาทักษะการคิด เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คะแนนรวม 116 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 3.41 คิดเป็นร้อยละ 34.12
6) นักเรียนมีกระบวนการ มีความรู้ ความเข้าใจ มีความก้าวหน้าในการเรียน จากการทำแบบฝึกเสริม
ทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อพัฒนาทักษะการคิด เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 34 คน เป็นดังนี้
- นักเรียนจำนวน 24 คน มีกระบวนการ ความรู้ ความเข้าใจ ระดับดี - ดีมาก
คิดเป็นร้อยละ 70.59
- จำนวนนักเรียน 10 คน มีกระบวนการ ความรู้ ความเข้าใจ ระดับปรับปรุง -พอใช้
คิดเป็นร้อยละ 29.41
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อพัฒนาทักษะการคิด เรื่อง การประยุกต์ของจำนวนเต็ม เป็นดังนี้
1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์มีเนื้อหาสาระที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย คิดเป็นร้อยละ 32.59
อยู่ในระดับมาก
2) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์แต่ละเล่มใช้เวลาเรียน มีความเหมสะสม คิดเป็นร้อยละ 29.41
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
3) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์มีข้อสังเกต ข้อควรจำโดยใช้การ์ตูนทำให้เข้าใจเนื้อหาและน่า
เรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 41.18 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากสุด
4. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน คิดเป็นร้อยละ 26.47
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
5. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์มีรูปเล่มและมีสีสันสวยงามน่าเรียน คิดเป็นร้อยละ 35.29
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากสุด
6) เนื้อหาของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก คิดเป็นร้อยละ 35.29
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก
7) ครูผู้สอนตั้งคำถามกระตุ้นความสนใจและอยากให้นักเรียนมีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 41.18
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก
8) นักเรียนอ่านคำสั่งของแต่ละเล่มของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ก็สามารถทำแบบฝึกเสริม
ทักษะได้คิดเป็นร้อยละ 32.35 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากสุด
9) กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะกระบวนการการทางคณิตศาสตร์
การทำงานกลุ่ม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี คิดเป็นร้อยละ 29.41 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
10) นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากแบบฝึก เสริมทักษะคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ คิดเป็นร้อยละ
44.12 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
11) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 38.24 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากสุด
6. บทเรียนที่ได้รับ
6.1 ระบุข้อสรุป
การใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถาม
ปลายเปิด เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนวัดตะพงนอกภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน (ขาดเรียนต่อเนื่อง 2 คน) ผลปรากฎดังนี้
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาศักยภาพทางกระบวน
การคิด เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะเกี่ยวกับเรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยมี
นักเรียนจำนวน 24 คน มีกระบวนการ ความรู้ ความเข้าใจ ระดับดี - ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 70.59
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนการทดสอบเรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวผ่าน
เกณฑ์ที่กำหนดมากกว่าร้อยละ 70 เพราะมีการสอนซ่อมเสริมและสอบจนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้
แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อพัฒนาทักษะการคิด เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระดับปานกลาง - มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.78
6.2 ข้อสังเกต
1) นักเรียนมากกว่าร้อยละ 70 มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะกระบวนการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้
2) ผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าผลทดสอบก่อนเรียน
6.3 ข้อเสนอแนะ
1) มีการสอบก่อนเรียนร่วมกับการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ชั่วโมงที่ 1 และการจัดการเรียนการสอนชั่วโมงที่ 2 และการทดสอบหลังเรียน มีเนื้อหาค่อนข้างมากรวมทั้งแบบฝึกหัดควนแยกการสอบก่อนเรียน 1 ชั่วโมงแล้วทบทวนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงและสอบหลังเพื่อที่จะได้แจ้งคะแนนนักเรียนและสอบซ่อมสำหรับนักเรียนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2) ควรมีชั่วโมงเพื่อให้นักเรียนทำแบบฝึกเพิ่มเติม ครูและนักเรียนจะได้ร่วมกันอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจและกระบวนการในการแก้สมการเชิงเส้นของนักเรียนอีกครั้ง
6.4 ข้อระมัดระวัง
ควรเน้นให้ควรมีทักษะรการบวก การลบ การคูณและการหารจำนวนเต็ม 2 จำนวน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
7. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของการดำเนินการ ได้แก่
7.1 ปัจจัยภายนอก ได้แก่
- ด้านครอบครัว
7.2 ปัจจัยภายใน ได้แก่
1) ด้านตัวนักเรียน
2) ด้านครูผู้สอน