ผู้ศึกษา นายหอมจันทร์ แก้วกาสี
ตำแหน่ง ครู คศ.3
วุฒิการศึกษา คอ.บ.วิศวกรรมเครื่องกล
หน่วยงาน แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
ปีที่ศึกษา 2/2564
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนสาขางานยานยนต์ วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ระดับชั้น ปวช.2 กลุ่ม 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มรูปแบบ LT (Learning Together) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานยานยนต์ ระดับชั้นปวช.2 กลุ่ม 1,2,3 วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชางานเครื่องยนต์เล็ก ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 61 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) จะเห็นได้ว่า นักเรียนสาขางานยานยนต์ ระดับชั้น ปวช.2 กลุ่ม 2 จำนวน 19 คน มีนักเรียนที่ได้คะแนนรวม 60 คะแนนขึ้นไป มีผลการเรียนอยู่ในระดับเกรด 2 ขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 89.47
การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนระดับชั้นปวช.2 กลุ่ม 2 สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ด้วยการเปรียบเทียบคะแนนข้อสอบก่อน หลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กระบวนการกลุ่มเรียนรูปแบบ LT (Learning Together) 50 ข้อ ในครั้งนี้พบว่า
ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มรูปแบบ LT (Learning Together) นักเรียนทำข้อสอบรวมเฉลี่ยได้ 17.42 ข้อ มีคะแนนทดสอบเต็ม 10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3.48 คิดเป็นร้อยละ 34.85
หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มรูปแบบ LT (Learning Together) นักเรียนทำข้อสอบรวมเฉลี่ยได้ 29.95 ข้อ มีคะแนนทดสอบเต็ม 10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5.99 คิดเป็นร้อยละ 59.90 นักเรียนที่ได้คะแนนรวมสุทธิ 60 คะแนนขึ้นไป มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 52.38 นักเรียนที่ได้คะแนนรวมสุทธิ 60 คะแนนขึ้นไป มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 52.38 ของนักเรียนทั้งกลุ่ม 19 คน
จากการทดลองจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มละ 4-6 คน เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักความสามัคคี ความมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม ไม่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้เท่าที่ควร กลับกันการเรียนแบบกลุ่มทำให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีอยู่แล้ว มีผลคะแนนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการสอนทบทวนการเรียน และสอบได้คะแนนปฏิบัติงานจริง มีคะแนนจิตพิสัยเป็นตัวประเมินหลัก เพราะนักเรียนที่มีผลการเรียนดีจะมีความรับผิดชอบมากกว่า เมื่อสมาชิกในกลุ่มบางคนไม่ให้ความร่วมมือ ทำให้งานที่กำหนดไม่สามารถเสร็จได้ทันเวลา สตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ได้ เมื่อถึงกำหนดให้สอบปฏิบัติประเมินภาพรวมสตาร์ทเครื่องยนต์ นักเรียนที่ไม่ให้ความร่วมมือจะไม่สามารถทำการสอบปฏิบัติสตาร์ทเครื่องยนต์ได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีอยู่แล้ว เกิดความเบื่อหน่ายเพื่อนที่ไม่ตั้งในเรียน ทำให้ผู้วิจัยไม่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้กับนักเรียนที่มีความตั้งใจเรียนน้อย และไม่สนใจเรียนเท่าที่ควร ด้วยกระบวนจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มรูปแบบ LT (Learning Together)