การพัฒนาทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน
ที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
รายงานวิจัยหน้าเดียว การพัฒนาทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน
ที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสุนันทา สุขปลั่ง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการเรียนการสอนในชั่วโมง เรื่อง การบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ยังไม่ถูกต้องและ ไม่แม่นยำ ครูผู้สอนจึงร่วมกันสนทนากับนักเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มี ตัวส่วนไม่เท่ากัน ซึ่งได้ข้อสรุปว่า นักเรียนต้องฝึกฝนทำแบบฝึกทักษะให้มากขึ้นด้วยตนเอง โดยปฏิบัติตาม แบบฝึกทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน (มีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำ)
เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการบวก การลบเศษส่วน และช่วยให้นักเรียนมีความมั่นใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น ครูจึงเกิดแนวคิดและได้สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มี ตัวส่วนไม่เท่ากัน ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ เมื่อเกิดความเข้าใจ แนวความคิด เจตคติ และทักษะให้เกิดขึ้นใน ตัวผู้เรียน จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จดจำไปได้นาน
นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เรียนสนุกสนาน เพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย เป็นการลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของผู้เรียนและเพิ่มประสิทธิภาพของครูผู้สอน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อพัฒนาทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก ปีการศึกษา 2563
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านพริก
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน ที่มีปัญหาการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
3. เนื้อหาที่ใช้ศึกษา คือ เนื้อหาเรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
สมมุติฐานของการวิจัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วน ไม่เท่ากัน ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ
ตัวแปรในการวิจัย
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพัฒนาทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีทักษะ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
2. ได้แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วนที่มี
ตัวส่วนไม่เท่ากัน
แนวคิดในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา
แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
เครื่องมือในการเก็บข้อมูล
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ค่าร้อยละ
วิธีดำเนินการวิจัย
1. รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้กับนักเรียน 15 คน ที่มีปัญหาการบวก การลบ
เศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
2. ดำเนินกิจกรรมโดยใช้ชั่วโมงนอกเวลาเรียน (พักกลางวัน) จำนวน 4 ชั่วโมง โดยเริ่มจากการ ทำแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วอธิบายเนื้อหาเรื่อง การบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน จากนั้น ให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะในแต่ละชั่วโมง แล้วจึงทำแบบทดสอบหลังเรียน เมื่อเรียนครบ 4 ชั่วโมง
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผล การพัฒนาทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันของนักเรียน ด้วยการหาค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จากนั้นหาค่าร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การเรียน
สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนาทักษะการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันของนักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ พบว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 3.53 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 7.53 คะแนน คะแนนเฉลี่ยของความก้าวหน้า เท่ากับ 4.00 แสดงดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงผลการพัฒนาทักษะ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 คน
นักเรียนคนที่ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน ความก้าวหน้า
คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้
1 10 3 10 8 +5
2 10 4 10 7 +3
3 10 5 10 8 +3
4 10 4 10 7 +3
5 10 2 10 6 +4
6 10 3 10 7 +4
7 10 4 10 8 +4
8 10 5 10 9 +4
9 10 2 10 7 +5
10 10 3 10 8 +5
11 10 4 10 7 +3
12 10 5 10 9 +4
13 10 4 10 7 +3
14 10 3 10 8 +5
15 10 2 10 7 +5
รวม 150 53 150 113 60
เฉลี่ย 10.00 3.53 10.00 7.53 4.00
อภิปรายผล
นักเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 3.53 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 7.53 คะแนน ทั้งนี้เนื่องมาจากนักเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนครั้งนี้
เมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัยก็จะสอบถามครูผู้สอนอยู่เสมอ ต่างจากในชั้นเรียนปกติที่นักเรียนมักจะไม่กล้าโต้ตอบกับครูผู้สอน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ทำให้ครูดูแลนักเรียน
ได้อย่างทั่วถึง และนักเรียนก็รู้สึกว่าครูเป็นกัลยาณมิตร จึงทำให้การเรียนการสอนเป็นไปในเชิงพัฒนา ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
1. จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนใช้เวลาในการทำแบบฝึกเสริมทักษะที่ต่างกัน
เนื่องจาก นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านการเรียนรู้ ดังนั้น ครูผู้สอนควรมีการยืดหยุ่นเวลา ที่ใช้ในการทำแบบฝึกเสริมทักษะ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูผู้สอนควรให้กำลังใจ คำชมเชย หรือรางวัลแก่นักเรียนบ้างในบางครั้ง เพื่อกระตุ้นให้
นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน รวมทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ครูผู้สอนสามารถนำผลไปพัฒนาต่อยอดในการเรียนการสอนในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ ได้ 2. ครูผู้สอนสามารถศึกษาปัญหาหรือปัจจัยอื่นที่มีผลต่อพื้นฐานการคิดคำนวณของนักเรียนต่อไป