ชื่อเรื่อง รายงานแบบฝึกการผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางวาสนา ยงมะเกะ
ปีการศึกษา ๒๕๖๓
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนาแบบฝึกการผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้จากการเรียนรู้ เรื่อง การผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๓) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกการผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๒ โรงเรียนบ้านห้วยบอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ จำนวน ๒๐ คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ๑) แบบฝึก เรื่อง การผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๔ เล่ม ๒) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง การผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๓๐ ข้อ ๓)แผนการจัดการเรียนรู้การใช้แบบฝึกการผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น จำนวน ๒๒ ชั่วโมง ๔) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกการผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
๑. แบบฝึกการผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ โดยมีประสิทธิภาพ ๘๔.๙๗/๘๕.๑๗
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าพัฒนาเฉลี่ยร้อยละ ๔๒.๑๗ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้า
๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกการผันอักษรสามหมู่ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวคำเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๗