การประเมินเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัยสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนและผลผลิตของการดำเนินการเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัยสุราษฎร์ธานี โดยผู้ประเมินได้ใช้วิธีการประเมินตามแนวคิดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) นำมาใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 652 คน แล้วทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก ประกอบด้วย คณะผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 61 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 293 คน และนักเรียน จำนวน 293 คน ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุราษฏร์ธานี ปีการศึกษา 2564 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.96 0.95 0.98 0.96 0.95 0.94 และ 0.96 ตามลำดับ ผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินบริบทมีความจำเป็นต่อการประเมินเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = 0.46)
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของการประเมินเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียน กาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.47)
3. การประเมินกระบวนการเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.59)
4. การประเมินผลผลิตของการประเมินเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = 0.53)
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับ 2.5 ขึ้นไป ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 พบว่า ภาพรวมมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับร้อยละ 78.71 ส่วนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับร้อยละ 83.81 สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากรายวิชา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียน กาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10