ความเป็นมาและความสำคัญของงานวิจัย
ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์นั้น สิ่งแรกที่เราเริ่มเรียนกันก็คือ ตัวเลข ต่อมาเราก็จะได้เรียนการบวก การลบ การคูณและการหาร ซึ่งรวมเรียกว่าการคิดคำนวณ จะเห็นได้ว่า การคิดคำนวณนั้นเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งในวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ว่านักเรียนจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นใด ระดับใด จะง่ายหรือจะยากมากแค่ไหน ทุกคนจะต้องผ่านการคิดคำนวณแน่นอน ถ้าในตอนนี้ นักเรียนมีทักษะที่ไม่ดี ยิ่งเรียนในระดับที่สูงขึ้น บทเรียนก็จะยิ่งยากขึ้น ตัวเลขในการคิดคำนวณก็จะมากขึ้น การคำนวณก็จะยากขึ้นด้วย แต่ถ้าในเวลานี้นักเรียนมีพื้นฐานทักษะการคิดคำนวณที่ดี การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ก็จะเป็นไปได้ง่าย สามารถนำไปใช้ในการเรียนและในชีวิตประจำวันได้
จุดมุ่งหมาย
ให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการคิดคำนวณ สามารถคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตัวแปรตาม
1. แบบฝึกหัดการคิดคำนวณ โดยใช้กิจกรรมการเขียน
2. ระดับผลสัมฤทธิ์ของคะแนน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้
1. นักเรียนสามารถคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
วิธีดำเนินการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างแบบฝึกหัด เกี่ยวกับการคิดคำนวณ โดยใช้กิจกรรมการเขียน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้
1. ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที 4
2. เนื้อหาที่ใช้ในการทำวิจัย เฉพาะในเรื่องของการบวก การลบ การคูณ การหาร
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
21 25 กุมภาพันธ์ 2565
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบฝึกหัดการคิดคำนวณ เรื่องของการบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวน 20 ข้อ
ผลการวิจัย
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
1. การหาค่าร้อยละ
การวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียน และศึกษาจากกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ได้ใช้แบบทดสอบทำการทดสอบ จำนวน 20 ข้อ
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ
จาการศึกษาวิจัยในเรื่องการส่งเสริมความสามารถในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
จะเห็นได้ว่านักเรียนมีทักษะในการคิดคำนวณ ดังนี้
1. นักเรียนชั้นป.4/1 จำนวน 19 คน
- ได้ระดับดีขึ้นไปจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 73.68
- ได้ระดับพอใช้จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 10.53
- ได้ระดับปรับปรุงจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 15.79
2. นักเรียนชั้นป.4/2 จำนวน 23 คน
- ได้ระดับดีขึ้นไปจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 69.57
- ได้ระดับพอใช้จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 21.73
- ได้ระดับปรับปรุงจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 8.70
ดังจะเห็นได้จากคะแนนทดสอบการคิดคำนวณของแต่ละห้อง ยังมีนักเรียนบางคนที่ได้คะแนนไม่ดีเท่าที่ควรยังคงต้องมีการปรับปรุงอยู่ แต่โดยส่วนมากแล้วนักเรียนจะมีคะแนนสูงก็จริง แต่ควรมีการพัฒนาทักษะในด้านการคิดคำนวณ ให้มากกว่านี้
ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
ควรมีการวัดระดับความสามารถในการคิดคำนวณอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เนื่องจากการคิดคำนวณเป็นพื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์ ถ้านักเรียนในระดับเล็กไม่เข้าใจจนถึงระดับที่สูงขึ้นการแก้ปัญหาจะเป็นไปได้ยาก