ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส.
PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม
ปีการศึกษา 2564
หน่วยงาน โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI
INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 เป็นการประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ประกอบด้วย 4 ด้าน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท (Context) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ (Process) และระยะที่ 3 หลังดำเนินโครงการ ประเมินด้านผลผลิต (Product)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของโครงการการแข่งขันกีฬา
ฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม
ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินปัจจัยนําเข้าของโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564
3) เพื่อประเมินกระบวนการดําเนินงานตามโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย
4.1) ผลสัมฤทธิ์ของโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 และ 4.2) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดําเนินโครงการการแข่งขันกีฬาฟุตซอลต้านภัยยาเสพติด ป.ป.ส. PRADOONAI INVITATION ครั้งที่ 7 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ปีการศึกษา 2564
ผู้ให้ข้อมูลในปีการศึกษา 2564 จำนวน 720 คน ได้แก่1) นักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตซอล จำนวน 310 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย 2) ครูโรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม จำนวน 28 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย 3) ครูผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตซอล จำนวน 59 คนใช้การสุ่มอย่างง่าย 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 310 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย และ 5) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน13 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบริบทสภาพแวดล้อมของโครงการฯ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการฯ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการดำเนินงานตามโครงการฯ
4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อผลผลิตของโครงการฯ เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ
5 ) แบบสอบถามความความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการฯ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
1. บริบทสภาพแวดล้อมของโครงการฯ ในส่วนของความต้องการจำเป็นในการดำเนินงาน โครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และ ความเป็นไปได้ของโครงการมีความจำเป็นเหมาะสม และเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการฯในส่วนของความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และการสนับสนุนของหน่วยงานต้นสังก มีความเหมาะสม/เพียงพอในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยกระบวนการดำเนินงานของโครงการฯในส่วนของการวางแผนบริหารและ การดำเนินงานโครงการ การดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล และ การนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนามีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลผลิตของกระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ
4.1 ผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ มีระดับการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการฯ ระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, การจัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด