บทคัดย่อ
จุดประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาหาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักศึกษาระดับชั้นปวช.2 แผนกวิชาช่างยนต์ วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น (20100-1007) โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมเครื่องเครื่องกลึงจำลอง 3 มิติ
วิธีการดำเนินการวิจัย
การหาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักศึกษาระดับชั้นปวช.2 แผนกวิชาช่างยนต์ วิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น รหัส 20100-1007 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรพุทธศักราช 2562 วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
1. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนระดับชั้นปวช.2 แผนกวิชาช่างยนต์ วิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น รหัส 20100 -1007 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรพุทธศักราช 2562 วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี จำนวนนักศึกษา 22 คน
2. ขอบเขตเนื้อหา / เวลา
ขอบเขตเนื้อหาโดยใช้เนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ 1 เรื่อง งานกลึงชิ้นส่วนเครื่องมือกล ใช้เวลาในการดำเนินงาน 32 ชั่วโมง โดยดำเนินการทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.1 แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องงานกลึง ประกอบ สื่อพาวเวอร์พอยต์ (Power point)
3.2 โปรแกรมเครื่องกลึงจำลอง 3 มิติ
4. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
4.1 ตัวแปรต้น คือ โปรแกรมเครื่องกลึงจำลอง 3 มิติ
4.2 ตัวแปรอิสระ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัย
ผลคะแนนทดสอบก่อนเรียนผู้เรียน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ 3.55 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1.438 และผลคะแนนทดสอบหลังเรียนผู้เรียนจำนวน 22 คน มีค่าเฉลี่ยอยู่ 7.32 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1.249 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาคะแนนพัฒนาการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนพบว่า คะแนนพัฒนาการเรียนหลังการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมเครื่องกลึงจำลอง 3 มิติ นักเรียนจำนวน 22 คน พบว่าคะแนนพัฒนาการของผู้เรียนที่มากกว่าร้อยละ50 มีจำนวน 14 คน และมีผู้ที่มีคะแนนพัฒนาการต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 8 คน ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้เรียนรู้โดยใช้โปรแกรมเครื่องเครื่องกลึงจำลอง 3 มิติ ผู้เรียนจะต้องเข้าใจซึ่งสถานะบทบาท ของตนเอง จะต้องศึกษาคู่มือการใช้งานโปรแกรมจำลอง 3 มิติให้เข้าใจ โดยมีผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะและกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญเพื่อที่จะนำมาซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / โปรแกรมจำลองการกลึง 3 มิติ / เทคนิคการสอนแบสาธิต