บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุ
และการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นางสาววีรนุช เลิศกาญจนวัฒน์
ปีที่ศึกษา 2564
..........................................................................................................................
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและ การเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบือราเป๊ะ จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือ 4 ชนิด ได้แก่
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ชุด
2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุและการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 แผน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุและการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ มี 30 ข้อ เป็นปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผลการศึกษาพบว่า
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.40/84.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
3) ความพึงพอใจของนักเรียนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและ การเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.67 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3