๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
๑.๑ ความเป็นมาและสภาพของปัญหา
จากสภาพปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ส่งผลให้โรงเรียนทั่วประเทศไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ แต่โรงเรียนก็ต้องเปิดการเรียนการสอนตามปกติแบบวิถีใหม่ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ครูผู้สอนจึงเห็นความสำคัญเรื่องการอ่าน-การเขียนมีความสำคัญเพราะเป็นวิธีการสื่อสารและมีประโยชน์เนื่องด้วยเป็นการถ่ายทอด ความรู้ ความคิด ความรู้สึกต่างๆของผู้อ่านเป็นหลัก และนอกจากนั้น การอ่าน-การเขียนยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ ในแต่ละยุคสมัยด้วย รวมทั้งถ่ายทอดภาพของอดีต ปัจจุบันและอนาคตที่เป็นการจินตนาการ ได้อีกด้วย สร้างความรัก ความเข้าใจ ข้อตกลงแนวปฏิบัติ เพื่อการอยูร่วมกัน ของสังคม
ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พบว่านักเรียนขาดทักษะความรู้ความเข้าใจในการอ่าน-การเขียน นักเรียนบางส่วนอ่านไม่ได้ และบางส่วนไม่รักการอ่าน เมื่อนักเรียนมาส่งงาน พบว่าส่วนมากจะเขียนคำไม่ถูกต้อง ประสมคำไม่ถูกต้อง หรือขาดการใส่ใจในเรื่องการอ่าน และเนื่องจากปัจจุบันสื่อมีหลายรูปแบบที่ใช้ในการเรียนการสอนของครู สื่อก็มีดีหรือไม่ดีที่ใช้ในการสอนสื่ออย่างเช่น ภาพแบบโปสเตอร์ ประกอบการเรียการสอนของนักเรียน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ นักเรียนไม่สนใจในการเรียนการสอน จากปัญหาดังกล่าว ครูจึงนำเสนอนวัตกรรมโดยใช้เนื้อหาสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP
จากความสำคัญและเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดที่ว่า ถ้าครูฝึกทักษะการอ่าน ให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้นวัตกรรมโดยใช้เนื้อหาสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP ให้นักเรียนได้ฝึกฝน ทั้งการอ่านและการเขียน ผู้วิจัยจึงได้ ใช้นวัตกรรมโดยใช้เนื้อหาสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อ ส่งเสริมทักษะการอ่าน-การเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะให้ดียิ่งขึ้นและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๑.๒ แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนา
๑. ศึกษาข้อมูลจากหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด เนื้อหาสาระ การวัดและประเมินผลและสื่อการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐ และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
๒. กำหนดเนื้อหาจากมาตรฐาน ท ๑.๑ ป.๑/๑ การอ่านออกเสียงและบอก ความของคำพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า ๖๐๐ คำ ประกอบด้วย คำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม่มีรูป วรรณยุกต์ คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ ท ๔.๑ ป.๑/๑ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เลขไทย
๓. แผนการจัดการเรียนรู้ การอ่าน-การเขียน จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง
ผู้วิจัยศึกษาเกณฑ์การตรวจคะแนนจากข้อสอบ การอ่าน-การเขียน นำเกณฑ์มาปรับวางรูปแบบแนวเดียวกัน ให้เข้ากับเกณฑ์การวัดและประเมินผลด้านการอ่าน-เขียน และเพิ่มจุดควรระวังในเรื่องต่างๆ ที่อาจทำให้นักเรียนเสียโอกาสในคะแนนจุดนั้นได้
๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ การกำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อพัฒนาด้านการอ่าน-การเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๒. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๓. เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP
๓, กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ การออกแบบผลงาน/ นวัตกรรม
1. วิเคราะห์ปัญหาของผู้เรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี
2. วิเคราะห์เนื้อหา เนื้อหาที่ใช้เป็นคำในบทเรียนและเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รวมถึงแนวข้อสอบ การอ่าน-การเขียน
๓.วิเคราะห์โครงสร้างของสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่าน-การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๔. วิเคราะห์หลักสูตรของโรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี
๕. วิเคราะห์ตัวชี้วัดวิชาภาษาไทย
๔. ผลิตสื่อนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อ ส่งเสริมทักษะการอ่าน-การเขียน นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๕. ชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงวิธีการใช้นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อ ส่งเสริมทักษะการอ่าน-การเขียน นักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติและใช้ได้ถูกต้อง
3. ๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม
ในการดำเนินงานนวัตกรรมในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อ ส่งเสริมทักษะการอ่าน-การเขียน นักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติและใช้ได้ถูกต้อง สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ การดำเนินการมีรายละเอียดดังนี้
1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อน
2. บันทึกคะแนนจากการทำแบบทดสอบ
๓. ให้นักเรียนใช้นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อ ส่งเสริมทักษะการอ่าน-การเขียน นักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติและใช้ได้ถูกต้อง
๔. ให้นักเรียนดู รูปแบบการจากนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อ ส่งเสริมทักษะการอ่าน-การเขียน นักเรียน Power และ Youtube ศึกษาใบความรู้ และทำใบงาน
๕. ให้นักเรียนฝึกเขียนฝึกอ่าน-ฝึกเขียน จาก POP UP คำที่กำหนดให้
๖ ให้นักเรียนศึกษาแนวการจากหนังสือ ใบความรู้และสื่อต่างๆ
๗. ให้นักเรียนฝึกทำแนวข้อสอบ การอ่าน-การเขียนในเรื่องการอ่าน-การเขียนแบบต่าง ๆ เช่นการเขียน คำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม่มีรูป วรรณยุกต์ คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา คำที่มีพยัญชนะ ควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ
๘. คัดเลือกผลงานนักเรียนที่มีการอ่าน-การเขียนที่ดี ให้มานำเสนอเพื่อเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน
๙. ฝึกทบทวนนักเรียนที่ อ่าน-เขียนไม่คล่องให้เขียนเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
1๐. ให้การเสริมแรงด้วยคำชมเชยและรางวัล
1๒. ให้นักเรียนทำนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อ ส่งเสริมทักษะการอ่าน-การเขียน
๑๓. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
1๔. เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแล้ว ทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน ประเมินความรู้หลังเรียน
๓.๓ ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
จากผลวิเคราะห์การวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำ พบว่านักเรียน ที่ใช้นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน ช่วยนักเรียนสามารถอ่าน-และเขียน ได้ มีผลสัมฤทธิ์จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ดีขึ้น
๓.๔ การใช้ทรัพยากร
มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะในการออกแบบนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน ช่วยนักเรียนสามารถอ่าน-และเขียนนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม คุ้มค่า เหมาะต่อการใช้งาน รูปเล่มแบบฝึกทักษะมีรูปภาพให้นักเรียนระบายสี เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะคำคล้องจอง
๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่จะได้รับ
ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่จะได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
จากผลวิเคราะห์ข้อมูลการทำนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน ช่วยนักเรียนสามารถอ่าน-และเขียน ก่อนเรียนและหลังเรียน จากการศึกษาพบว่า ผลจากการที่นักเรียนได้ฝึกอ่าน-ฝึกเขียน ทำให้นักเรียนสามรถพัฒนาด้านการอ่าน-การเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สามารถศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พัฒนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP
ให้มีประสิทธิภาพ สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจและอธิบายลักษณะการอ่าน-การเขียนได้และสามารถ ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้และยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นกว่าเดิม นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการทำแนวข้อสอบได้ดียิ่งขึ้น
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
จากการนำนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน ช่วยนักเรียนสามารถอ่าน-และเขียนใช้ในแก้ปัญหาการการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พบว่านักเรียนมีความเข้าใจนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน ด้วยตัวเองได้ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
๔.๓ ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรมไปใช้ นักเรียนทุกคนของโรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคีได้มีส่วนร่วมใน
การเรียนรู้เรื่องจากนวัตกรรมเรื่อง POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน มีทักษะการแก้ปัญหา การร่วมมือและการสร้างนวัตกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วย การลงมือปฏิบัติจริง ครูทุกคนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการข้าพเจ้า มีความตระหนัก เห็นความสำคัญ และ มี ความพยายามที่จะพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความตั้งใจและจะพัฒนานักเรียนในเรื่องการอ่าน-การเขียนนอกจากนั้นยังมีปัจจัยภายนอกที่ทำให้กิจกรรมต่างๆ ประสบผลสำเร็จ ได้แก่
- หนังสือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรี เขต ๒ เรื่อง ส่งผลงานห้องเรียนคุณภาพและนวัตกรรมภาษาไทย
- ผู้บริหาร ซึ่งให้ความสำคัญ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการทุกด้าน กำหนดนโยบายให้มี การจัดการเรียนรู้ไว้ชัดเจนและจัดกิจกรรมในการพัฒนาครู และพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาความรู้ความสารถของตนเอง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปฏิบัติการทางวิชาการเป็น
- คณะครูโรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี ที่ให้คำแนะนำนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน คำปรึกษาในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง ทำให้ มีประสิทธิภาพ
- นักเรียนโรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี ที่ให้ความร่วมมือในการทำนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน ในครั้งนี้
๖.บทเรียนที่ได้รับ
จากการศึกษาผลการส่งเสริมนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน วิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน ผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอนโดยเน้นวิธีสอนแบบบูรณาการ โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย การยกตัวอย่าง เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการการเขียน และอ่าน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดประสบการณ์ให้นักเรียนได้เพิ่มพูนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และการจินตนาการ นักเรียนจะได้รับการส่งเสริมทักษะการเขียน- การอ่าน ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้นและยังเป็นผลให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นและสร้างความเข้าใจได้เป็นอย่างดีโดยที่นักเรียนได้ฝึกทำกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่น่าเบื่อหน่าย มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ
๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
๗.๑การเผยแพร่
เรื่องนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน กลุ่มสาระภาษาไทย โรงเรียนอนุบาลวังม่วง ได้เผยแพร่ ดังนี้
๑. เผยแพร่ผลงานทางเว็บไซต์ www.ครูบ้านนอกดอทคอม
๗.๒ การได้รับยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
ผลจากที่ได้จากการนำนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน มาตรฐาน ท ๑.๑ ป.๑/๑ การอ่านออกเสียงและบอก ความของคำพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า ๖๐๐ คำ ประกอบด้วย คำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม่มีรูป วรรณยุกต์ คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ ท ๔.๑ ป.๑/๑ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เลขไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ การนำเสนอผลงาน
๘. การนำเสนอผลงาน
ผลจากที่ได้จากการนำนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP เพื่อส่งเสริม การอ่าน-การเขียน ครูผู้สอนได้นำนวัตกรรมไปเผยแพร่ผลงาน เว็บไซต์ครูบ้านนอก และเผยแพร่ผลงานวีดิโอลงใน Youtube เป็นการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรมภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ