ATPS Model : นวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษา "เพื่อการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ" โรงเรียนอ่างทองพัฒนาฯ จัดทำโดยท่านผู้อำนวยการ ดร.วันเพ็ญ ปราศรัย
นวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษา เพื่อการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ โรงเรียนอ่างทองพัฒนา ฯ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลผลลัพธ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑) ปัจจัยนำเข้า หมายถึง ปัจจัยที่เป็นตัวป้อน วิธีการ แนวทางหรือนโยบาย รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ส่งเสริม สนับสนุนและเอื้อต่อผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษา เพื่อการศึกษาปลอดภัยและมีคุณภาพ มีรายละเอียด ดังนี้
๑. ทิศทางการบริหารจัดการศึกษา ได้แก่ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่กำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การดำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการและกิจกรรมการดำเนินงาน ของโรงเรียนอ่างทองพัฒนา ฯ
๒. ทรัพยากรในการบริหารจัดการ ได้แก่ ปัจจัยที่สำคัญของการบริหารงานที่ส่งผลให้ การดำเนินงานของสถานศึกษาประสบความสำเร็จ และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย ครูและบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการบริหารจัดการ
๓. การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องมีการพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อม เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครู จึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) สำหรับการศึกษาต่อและการออกไปดำรงชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันสูง
๔. COVID -19 ได้แก่ การปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ภายใต้สถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามาตรการของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้เรียนและบุคลากร
๕. หลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้วิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น ได้แก่ หลักสูตรที่สถานศึกษาได้พัฒนาขึ้นมาโดยบูรณาการ ให้มีความสอดคล้อง และเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ตรงตามความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น และสามารถนำไปใช้จัดการศึกษาให้เกิดความปลอดภัยและมีคุณภาพ
๒. กระบวนการ (Process) หมายถึง การกำหนดขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ต้นจนสำเร็จอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ สำหรับกระบวนการที่ใช้ในการบริหารนี้ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การดำเนินงาน (Do) การตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุง/พัฒนา (Act) เพื่อขับเคลื่อนองค์ประกอบย่อยของกระบวนการให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. A (Awareness) หมายถึง การสร้างความตระหนัก ให้กับครูและบุคลากร ในการร่วมรับรู้เข้าใจ เกี่ยวกับสภาพปัญหา วัตถุประสงค์ บริบท ข้อตกลง กฎ กติกาภายในองค์กร ด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์กร กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และเป้าประสงค์ (Corporate objective) และกลยุทธ์ (Strategies) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย สู่องค์กรที่มีคุณภาพ (Quality Organization)
๒. T (Teamwork α Technology) หมายถึง การมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความรู้
ความสามารถของบุคลากร การทำงานเป็นทีมที่มุ่งสัมฤทธิผลขององค์กร รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๓. P (Participation) หมายถึง การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของครู บุคลากร ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๔. S (Safety Prevention α Sustainability) หมายถึง การสร้างความปลอดภัยให้กับ
ผู้เรียน และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงมีการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ และการจัดการเรียนรู้ สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน
๓. ผลผลิต (Output) หมายถึง ภาพความสำเร็จในการดำเนินงานการบริหารจัดการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืน สู่การเป็นองค์กรแห่งคุณภาพ (Quality Organizetion) ซึ่งประกอบด้วย คุณภาพ ๔ ด้าน ดังนี้
๑. นักเรียนคุณภาพ (Quality Students) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน การบรรลุ
เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ
๒. ครูคุณภาพ (Quality Teacher) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรทางการศึกษา
ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ครูจัด
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ครูสามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุคใช้เพื่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูมีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
๓. ชุมชนแวดล้อมคุณภาพ (Quality Community) หมายถึง สภาพแวดล้อมรอบ ๆ บริเวณโรงเรียนที่มีความพร้อม และเอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษา การให้ความร่วมมือ สนับสนุน จากผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอ่างทองพัฒนา ฯ
๔. สถานศึกษาคุณภาพ (Quality School) หมายถึง สถานศึกษามีการบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพและประสิทธิภาพ บริหารจัดการศึกษาบรรลุผลตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา มีรางวัลและผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษา และผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการศึกษา
๔.ด้านผลลัพธ์ (Outcome) หมายถึง ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานอื่น ๆ นอกเหนือจากผลที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายของการพัฒนาสถานศึกษาด้วยนวัตกรรมการบริหาร ได้แก่ ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (3Rs8Cs) นักเรียนและบุคลากรทุกคนสามารถใช้ชีวิตแบบวิถีปกติใหม่ (New Normal) สถานศึกษา มีนวัตกรรมในการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ(1 School 1 Innovation) ส่งผลให้มีผลงานและรางวัล ของสถานศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจต่อการบริหารจัดการศึกษา