ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
ผู้รายงาน นางสาวอัญชิสา สารีบุตร
รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชลียง
ระยะเวลาการศึกษา ปีการศึกษา 2564
__________________________________________________________________________
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 2) เพื่อประเมินปัจจัยพื้นฐานโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
การประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในครั้งนี้ ดำเนินการประเมินโครงการทั้งระบบโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งจะประเมินโครงการ 4 ด้าน ดังนี้ 1) การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) การประเมินปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation) 3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 722 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 8 คน ครู จำนวน 78 คน และกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตามตารางของเครซี่และมอร์แกน(Krejcie and Morgan) ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 310 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 310 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย มีจำนวน 2 ชุด ดังนี้
ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตอบตอนที่ 1 2) ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูโรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย (ตอบตอนที่ 1 5) ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโครงการ จำนวน 16 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของโครงการ จำนวน 22 ข้อ ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ จำนวน 39 ข้อ และตอนที่ 5 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการ จำนวน 10 ข้อ
ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตอบตอนที่ 1 2) ผู้ปกครองนักเรียน (ตอบตอนที่ 1 2) และนักเรียน (ตอบตอนที่ 2) ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ จำนวน 12 ข้อ และตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการจัดทำโครงการ จำนวน 12 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. สภาพแวดล้อมของโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย มีความสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย และโรงเรียน และแนวทางการดำเนินงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.51, S.D. = 0.13) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงาน ( X-bar= 4.54, S.D. = 0.17) รองลงมา คือ ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย และโรงเรียน ( X-bar= 4.48, S.D. = 0.18)
2. ปัจจัยพื้นฐานของโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar= 4.26, S.D. = 0.12) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากร ( X-bar= 4.34, S.D. = 0.21) ด้านเวลา ( X-bar= 4.29, S.D. = 0.18) ด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ ( X-bar= 4.22, S.D. = 0.22) และด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.13, S.D. = 0.16) ตามลำดับ
3. กระบวนการดำเนินงานของโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar= 4.35, S.D.= 0.11) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินงานตามแผน (X-bar = 4.39, S.D. = 0.16) ด้านการปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน ( X-bar= 4.36, S.D. = 0.19) และด้านการมีส่วนร่วมขององค์กรภายนอก ผู้ปกครองและชุมชน อยู่ในระดับมาก ( X-bar= 4.27, S.D. = 0.19) ตามลำดับ ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.97, S.D. = 0.22)
4. ผลผลิตของโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนเมืองเชลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar= 3.92, S.D. = 0.15) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียน ครู บุคลากร และผู้มาติดต่อ มีความปลอดภัยจากสัตว์และแมลงมีพิษ (X-bar = 4.33, S.D. = 0.29) รองลงมา คือ นักเรียนมีสุขอนามัยที่ดี ( X-bar= 4.24, S.D. = 0.26) และนักเรียน ครูบุคลากร และผู้มาติดต่อมีความปลอดภัยจากอุบัติภัย ( X-bar= 3.57, S.D. = 0.26) ตามลำดับ
ส่วนผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูโรงเรียนเมืองเชลียง มีความคิดเห็นต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( X-bar= 4.31, S.D. = 0.21) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดทำโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar= 3.96, S.D. = 0.22) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานศึกษาควรจัดโครงการนี้ต่อเนื่องทุกๆ ปี ( X-bar= 4.34, S.D. = 0.57) รองลงมา คือ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักความปลอดภัย ( X-bar= 4.26, S.D. = 0.85)และกิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีในการมีส่วนร่วมการป้องกันภัย ( X-bar= 3.57, S.D. = 0.67) ตามลำดับ