เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตาม
แนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ผู้วิจัย นายรังสิรัตน์ โกสัยยะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา
หน่วยงาน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ปีที่รายงาน 2564
การวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตของนักเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงาน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาทักษะชีวิตของนักเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา ระยะที่ 3 การศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารงาน และระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องหลังจากการใช้รูปแบบการบริหารงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงาน 2) แบบประเมินทักษะชีวิตของนักเรียน และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 100 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบประเมิน, แบบสอบถามและแบบทดสอบ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย X-bar ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ ค่า t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการศึกษาด้านทักษะการดำรงชีวิต จากแนวคิดทฤษฎีวงจรคุณภาพ (PDCA) คือ Plan, Do, Check และ Action โดยใช้องค์ประกอบของ ทักษะการดำรงชีวิต 8 ทักษะ โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรายด้าน มีดังนี้ ๑.กิจกรรมส่งเสริมสุขนิสัย อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ ๒.กิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ ๓.กิจกรรมหลักโภชนาการ อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ ๔.กิจกรรมส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ ๕.กิจกรรมหลักไตรรงค์ อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ ๖.กิจกรรมสร้างเสริมภาวะผู้นำ อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ ๗.กิจกรรมพัฒนาสุนทรียภาพ อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์ และ ๘.กิจกรรมอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับ ผ่านเกณฑ์
2) การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา พบว่า การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา ประกอบด้วย ศาสตร์พระราชา มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 องค์ประกอบ คือ ด้านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านความเข้าใจ ด้านความเข้าถึง ด้านการพัฒนา และด้านหลักการทรงงานของพระราชา มาบูรณาการในการบริหารสถานศึกษา ด้านทักษะชีวิต ให้กับนักเรียน ได้อย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการทางกิจกรรม 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การออกแบบกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต ขั้นตอนที่ 2 การจัดกิจกรรมผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 การใช้และพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และขั้นตอนที่ 4 การวัดและประเมินผลด้านทักษะตามสภาพจริง 4) วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย รูปแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต 5) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินทักษะชีวิตของนักเรียนผ่านกิจกรรม ผลการประเมิน รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา โดยรวม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา มีค่าผลการประเมินทักษะชีวิต ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกคน
4) การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต ของนักเรียน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา นักเรียนมีทักษะชีวิต สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา และ 2) ผลการเปรียบเทียบการประเมินทักษะชีวิตของนักเรียน พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์การประมินทักษะชีวิต ตามแนวทางศาสตร์พระราชา สูงกว่า โดยมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01