บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาขอเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development :R & D) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา และผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้น ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา และผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรม แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของรูปแบบ แบบประเมินระดับการมีส่วนร่วม แบบประเมินระดับการปฏิบัติตน แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกผลการนิเทศติดตาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่เฉลี่ยและ
ค่าส่วนเบียงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
ผู้วิจัยได้นำเสนอสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการชับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
1.1 สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการชับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อยมีค่าเลี่ยอยู่ระหว่าง 203 - 221 โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.21 และชั้นตอนที่มีค่เฉลี่ยต่ำสุด คือ
การบริหารแบบมีส่วนร่วมระดมความคิดและการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานมีค่เฉลี่ยเท่ากับ 2.03
1.2 ผลการศึกษารูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล (Best Practice) สรุปใด้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดมความคิด ด้านการมีร่วมในการวางแผน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีร่วมในการปฏิบัติงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในลักษณะการประชุมขี้แจง การประชาวิจารณ์ การสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงบประมาณค่อนข้างน้อย
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการชับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้น สรุปผลได้เป็น 2 ตอน ดังนี้
2.1 ผลการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้น พบว่า รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้นประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
2.1.1 องค์ประกอบด้านหลักการของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 หลักการ คือ
1) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) หลักการ กระจายอำนาจ 3 หลักการทำงานเป็นทีม และ
4) หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.1.2 องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ประกอบด้วย 3 ข้อ คือ
1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ
สถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการ
พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ และ3) เพื่อศึกษาความพึง
พอใจของชุมชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษา
2.1.3 องค์ประกอบค้านระบบและกลไกของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 ระบบ
คือ 1) ระบบ การสร้างแรงจูงใจ 2) ระบบการทำงานเป็นทีม 3) ระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม และ
4) ระบบสนับสนุนในการรับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.4 องค์ประกอบด้านวิธีคำเนินงานของรูปแบบประกอบด้วย 4 ชั้นตอน คือ
1) ชั้นการวางแผน (P - Plan) 2) ขั้นปฏิบัติตามแผน (D -0o) 3) ขั้นตรวจสอบ วัดและประเมินผล
การปฏิบัติ (C - Check) และ 4) ชั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา (A - Ac)
2.1.5 องค์ประกอบด้านการประเมินรูปแบบ ประกอบด้วย 1) ประเด็นในการ
ประเมินรูปแบบ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรูปแบบ 3) วิธีการประเมินรูปแบบ 4) การวิเคราะห์
ผลการประเมินรูปแบบ และ 5) เกณฑ์ในการพิจารณาผลการประเมินรูปแบบ
2.1.6 องค์ประกอบด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 3 ข้อ คือ
1) ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียในชุมชนมีความตระหนักและเห็นคุณค่าของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 2) มีระบบการนิเทศ กำกับติดตามที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นการนิเทศ
แบบมีส่วนร่วม การนิเทศแบบกัลยาณมิตรและการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน
และ 3) ผู้บริหาร
สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารแหล่งข้อมูล ระบบ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล วิทยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.1.7 องค์ประกอบด้านคำอธิบายประกอบรูปแบบ เป็นการอธิบายรายละเอียด
ในแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบตามแผนภูมิที่สร้างขึ้นตามลำดับ
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหาร
แบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า รูปแบบการ
บริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาที่สร้างขึ้นมี
ความเหมาะสมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.60 - 4.31 และมีความ
เป็นไปได้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระตับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 9.00 - 4.17
2.3 การนำเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาเบื้องต้นที่ปรับปรุงแล้ว สรุปได้ว่า รูปแบบการบริหารแบบมีส่วน
ร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ
หลัก ได้แก่
2.3.1 องค์ประกอบด้านหลักการของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 หลักการ คือ
1) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) หลักการกระจายอำนาจ 3) หลักการทำงานเป็นทีม และ4)
หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3.2 องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ได้แก่ เพื่อออกแบบระบบ
และวิธีดำเนินงานของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษา
2.3.3 องค์ประกอบด้านระบบและกลไกของรูปแบบ ประกอบด้วย 5 ระบบ
คือ 1) ระบบการสร้างแรงจูงใจ 2) ระบบการทำงานเป็นทีม 3) ระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม
4) ระบบสนับสนุนในการดำเนินงาน และ5) ระบบการสร้างเครือข่าย
1) ชั้นการวางแผน (P - Plan) 2) ขั้นปฏิบัติตามแผน (O -00) 3) ขั้นตรวจสอบ วัดและประเมินผล
2.3. 4 องค์ประกอบด้านวิธีดำเนินงานของรูปแบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
การปฏิบัติ (C - Check) และ 4) ขั้นตอนการแก้ไซปรับปรุงและพัฒนา (A - Ac)
2.3.5 องค์ประกอบด้านการประเมินรูปแบบ เพื่อประเมินประสิทธิผล
ของรูปแบบประกอบด้วย 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) ระดับการปฏิบัติในขับเคลื่อนหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ระดับความพึงพอใจ
2.3.6 องค์ประกอบด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 5 ข้อ คือ
1) ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียมีความตระหนักและเห็นคุณค่าของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษา 2) มีระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการนิเทศแบบมี
ส่วนร่วม การนิเทศแบบกัลยาณมิตร และการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน 3 โรงเรียนจัดทำแผนการ
ดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4) ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการชับเคลื่อนหลัก
ปรัชญาชองเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารแหล่งข้อมูล
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล วิทยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 5) หน่วยงาน
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีนโยบายและกิจกรรมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3. ผลการทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
จากการนำรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ
ศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาไปทดลองใช้จริงในสถานศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ
การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโดย
สรุปผลการประเมินได้เป็น 2 ตอน ดังนี้
3.1 ผลการประเมินระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกขั้นตอน มีค่เฉลี่ยอยู่
ระหว่าง 3.92 - 4.05 โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92
3.2 ผลการประเมินระดับการปฏิบัติการดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า การปฏิบัติในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 เมื่อพิจารณาเป็นร้ายด้านอยู่ใน
ระดับมากทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.71 - 3.76 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนา
บุคลากรของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักสูตรและการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71
3.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วน
ร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พบว่า ความพึง
พอใจของชุมชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่เท่ากับ 3.81 เมื่พิจารณาเป็นรายด้านอยู่
ในระดับมากทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานตาม
รูปแบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านองค์ประกอบของรูปแบบมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.76