ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL
โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563
ผู้วิจัย นางสาวชุฏิมา อินทร์จันทร์
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู หลังการพัฒนา โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 3.เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 3.2 ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 3.3 สมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 3.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียนตามsลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 4.เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อกาพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบ UCDA MODELปีการศึกษา 2562- 2563 5.เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อ โรงเรียน ครู นักเรียน โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562- 2563 ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่ พฤษภาคม 2562 พฤษภาคม 2564 ต่อเนื่องตลอด 2 ปีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย 1.กลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4,5 ทุกคน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 67 คน และปีการศึกษา 2563 นักเรียนกลุ่มเดิมที่เลื่อนชั้นไปเรียนปีที่ 2,3 และมัธยมศึกษาปีที่ 5,6 ทุกคน จำนวน 62 คน 2. ประชากรครูที่ปฏิบัติการสอนโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 11 คน 3. กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 67 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 62 คน 4. กลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบบันทึกผลตามสภาพจริง รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 และสิ้นปีการศึกษา 2563 ได้ค่าความเชื่อมั่น .96 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม เมื่อสิ้น ปีการศึกษา 2562 และ สิ้นปีการศึกษา 2563 ได้ค่าความเชื่อมั่น .97 ฉบับที่ 3 แบบบันทึกผลการทดสอบระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -6 เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 และสิ้น ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 4 แบบบันทึกผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อสิ้น ปีการศึกษา 2562 และสิ้น ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 5 แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562- 2563 ฉบับที่ 6 แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -6 ตามสภาพจริง เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 7 แบบสอบถามความพึงพอใจของ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้รูปแบบ UCDA MODELโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 2563 ได้ค่าความเชื่อมั่น .92 ฉบับที่ 8 แบบบันทึกผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562- 2563 โดยบันทึกผลตามสภาพจริงเกี่ยวกับการได้รับการประกาศเกียรติคุณ/รางวัล ระดับภาคและ/หรือ ระดับประเทศ ของโรงเรียน ครู นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS for Window) version 26
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด สอดคล้องตามสมมุติฐาน
2. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู หลังการพัฒนา โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562- 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมุติฐาน
3. ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562- 2563 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงกว่าก่อนการพัฒนา โดยก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2561 พบว่าคะแนนเฉลี่ย GPA = 2.49 หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย GPA = 2.69 ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ย GPA = 2.84 แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาโรงเรียนตะเครียะวิทยาคมหลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562-2563 มีค่า GPA สูงกว่า ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2561 สอดคล้องตามสมมุติฐาน
4. ผลการทดสอบระดับชาติ O-NETโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562- 2563 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่า ก่อนการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 โดยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนตะเครียะวิทยาคมปีการศึกษา 2561-2563 พบว่าผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 33.07 ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.67 ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 29.56 ดังนั้น ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562- 2563 มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่า ก่อนการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 ไม่สอดคล้องกับสมมุติฐาน
5. สมรรถนะของผู้เรียนโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา
2562- 2563 มีคุณภาพ อยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 85 โดย ปีการศึกษา 2562 สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 87.80 ปีการศึกษา 2563 สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 90.82 สอดคล้องตามสมมุติฐาน
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนา
ปีการศึกษา 2562- 2563 มีคุณภาพ อยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90 ปีการศึกษา 2562 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการ อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 93.37 ปีการศึกษา 2562 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการ อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 94.90 สอดคล้องตามสมมุติฐาน
7. ความพึงพอใจ ของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562- 2563 อยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมุติฐาน
8. ผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562- 2563 พบว่าโรงเรียน ครู นักเรียน ได้รับการประกาศเกียรติคุณ/รางวัล ระดับภาคและระดับประเทศ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องตามสมมุติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
จากการวิจัยการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้รูปแบบ UCDA MODEL โรงเรียน ตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563 ครั้งนี้ทำให้ค้นพบจุดเด่น ของการมีแบบอย่างที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์และแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป
1.1 ด้าน U : Understand (เข้าใจ) การสร้างความรู้ความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็นเพื่อความมั่นใจในการสมัครใจทำงานและตัดสินใจร่วมกัน เป็นบทบาทหน้าที่ที่ผู้บริหารต้องดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน ให้นักเรียน ครู ชุมชน รับรู้ เข้าใจ และมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน ผู้ให้การพัฒนา(ครู)และผู้รับการพัฒนา(นักเรียน) ต้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน มีการสื่อสารสองทาง เพื่อให้ทุกฝ่ายรู้สึกมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ทราบข้อมูลพื้นฐานความต้องการสภาพปัญหาที่ต้องการพัฒนาและนำมาวิเคราะห์ เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาตรงตามความต้องการ หรือปัญหาที่แท้จริง ดังนั้นการสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษาและชุมชน จะทำให้พัฒนานักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
1.2 ด้าน C : Connecting (เข้าถึง) เป็นการนำปัญหาที่ต้องการแก้ไขมากำหนดเป้าหมาย ทิศทางในการดำเนินงาน ซึ่งหากเป้าหมายชัดเจนก็สามารถออกแบบเพื่อลงสู่การปฏิบัติได้ชัดเจนเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากผู้บริหาร ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และชุมชน เข้าถึงความต้องการในการพัฒนานักเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน หรือคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ก็สามารถออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้ และดำเนินการพัฒนาครูเพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการระเบิดจากข้างใน คือทุกฝ่ายมีความพร้อมในการพัฒนา
1.3 ด้าน D : Development (พัฒนา) เป็นการนำกระบวนการที่ได้วางแผนออกแบบ ลงสู่การปฏิบัติ และใช้กระบวนการ PLC ในการพัฒนาเพื่อปรับปรุงพัฒนากิจกรรมให้สามารถพัฒนาผู้เรียนได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งกิจกรรมต่างๆจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อมี การกำหนดเป้าหมาย มีหลักคิดในการทำงานที่ชัดเจน และสามารถระดมความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งผู้บริหารไม่ใช่เป็นการคิดและนำทางเพียงคนเดียว แต่ต้องสื่อสารกระตุ้นการมีส่วนร่วม และกระจายความรับผิดชอบ ครู ผู้บริหาร กรรมการสถานศึกษา ต้องมีความรู้สึกร่วมในการพัฒนานักเรียนและผู้บริหารต้องมีคุณลักษณะสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ การ มีวิสัยทัศน์ คือสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ได้อย่างชัดเจน และกระจายวิสัยทัศน์ให้บุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้เรียนรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจนถูกต้อง และเชื่อว่าโรงเรียนเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ที่สำคัญ การให้คุณค่าต่อทรัพยากรมนุษย์ โดย ให้ขวัญกำลังใจในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงศักยภาพอย่างเต็มกำลังความสามารถการมีทักษะการสื่อสารและการรับฟังอย่างมีประสิทธิผล การมีพฤติกรรมเชิงรุก หรือการปฏิบัติงานให้เกิดความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และการมีความกล้าเสี่ยงโดยใช้หลักบริหารความเสี่ยง มีความยืดหยุ่น และไม่เคร่งครัดจนเกินไป ในบางครั้งเปิดโอกาสให้ปฏิบัติงานเกินกรอบหรือนโยบายได้ ถ้างานนั้นสามารถพัฒนางานในหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น จะพัฒนากิจกรรมต่างๆให้ประสบความสำเร็จตามที่วางแผนไว้
1.4 ด้าน A : Attitude (เสริมสร้างกำลังใจ) เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้โรงเรียนพัฒนาตามที่วางแผนไว้ ตามทฤษฎีของมาสโลว์ ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือในตนเอง เพราะเมื่อความความต้องการความรักและการยอมรับได้รับการตอบสนองแล้ว คนเราจะต้องการสร้างสถานภาพของตนเองให้สูงขึ้น มีความภูมิใจ และสร้างความนับถือตนเอง ชื่นชมในความสำเร็จของงานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตนเอง และมีเกียรติ ดังนั้น หากผู้บริหารมีการเสริมสร้างกำลังใจให้กับครู นักเรียน โดยการมอบเกียรติบัตร ประกาศเกียรติคุณ ในช่องทางต่างๆจะทำให้ครู และนักเรียน รู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพของตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนที่ยั่งยืน
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
2.1 ควรวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่
ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
2.2 ควรวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ คุณภาพครู เพื่อศิษย์ สู่คุณภาพผู้เรียน