๑. ความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา
จากการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนอนุบาลวังม่วง ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนขาดทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้เรื่องอัตราส่วน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูที่ส่วนใหญ่ครูยังใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นสําคัญส่วนใหญ่ใช้วิธีการบรรยายหน้าชั้นเรียนอธิบายนําเสนอตัวอย่าง และให้นักเรียนทําแบบฝึกหัดนักเรียนจึงไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมหรือแสดงความคิดเห็นทําให้นักเรียนไม่เห็นความสําคัญ ของการเรียนส่งผลให้นักเรียนเบื่อการเรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนขาดทักษะ/ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ครูควรปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนโดยใช้เวลานานมากเป็นการกระตุ้น ส่งเสริมผู้เรียนให้ค้นคว้าศึกษาหาความรู้แสวงหาคําตอบด้วยตนเองโดยเน้นกระบวนการกลุ่มเป็นสําคัญ นอกจากนี้ยังมีความจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับการนําคณิตศาสตร์ไปใช้ในการดํารงชีวิต วิธีการหนึ่งที่จะช่วยนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในเรื่องความสามารถในการเรียนและเพื่อช่วยให้ นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปความสําคัญของบทเรียนสำเร็จรูปเป็นวิธีสอนที่สนุกอีกวิธีหนึ่ง คือ การให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกทำแบบฝึกต่างๆด้วยตนเอง โดยที่ครูผู้สอนคอยให้คำแนะนำ นักเรียนมีโอกาสนําความรู้ที่เรียนมาแล้วฝึกให้เกิดความเข้าใจกว้างขวางขึ้น บทเรียนสำเร็จรูปมีประโยชน์ต่อ การเรียนทักษะมาก เป็นส่วนเพิ่มหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะเป็นอุปกรณ์การสอนที่ ลดภาระของครูได้มาก แต่จะต้องอาศัยการส่งเสริมและความดูแลเอาใจใส่ จากครูผู้สอนด้วย ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถทางภาษาแตกต่างกัน การให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด ใฝ่รู้ใฝ่เรียนที่เหมาะสมกับความสามารถของเขาจะช่วยให้นักเรียนประสบผลสําเร็จในด้านจิตใจมากขึ้น และการสอนนักเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะนักเรียนจะได้ลงมือกระทําด้วยตนเอง สร้างความคิดได้ด้วยตนเอง หาคําตอบด้วยตนเอง เพื่อค้นคว้าหลักทั่วไปอันเป็นแนวทางไปสู่ความคิดรวบยอด ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานเพื่อเตรียมตัวนักเรียนให้พร้อมที่จะเรียนในระดับสูงต่อไปดังนั้น การจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จะต้องคํานึงถึงผู้เรียนเป็นสําคัญการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวุฒิภาวะความสนใจและความถนัดของผู้เรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจากการฝึกปฏิบัติวิเคราะห์และแก้ปัญหากิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องผสมผสานทั้งด้านเนื้อหาและทักษะกระบวนการตลอดจนปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามถูกต้องและเหมาะสมให้แก่ผู้เรียน ดังนั้น การทําบทเรียนสำเร็จรูปจึงช่วยในการสอนคณิตศาสตร์ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่สําคัญ ๒ ประการ คือ การเพิ่มทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาได้
จากเหตุผลดังกล่าว ผู้รายงานจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนอนุบาลวังม่วง โดยใช้นวัตกรรมห้องเรียนคุณภาพ เรื่อง บทเรียนสำเร็จรูป อัตราส่วนชวนคิด
1.2 แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา
ผู้รายงานได้จัดทำนวัตกรรมห้องเรียนคุณภาพ เรื่อง บทเรียนสำเร็จรูป อัตราส่วนชวนคิด เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูให้เหมาะสมกับความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ให้สูงขึ้น นอกจากนี้ ครูผู้สอนได้จัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้ Project-Based Learning และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน
ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นกระตุ้นความสนใจ
ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ
ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นแสวงหาความรู้
ขั้นตอนที่ ๕ ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้
ขั้นตอนที่ ๖ ขั้นนำเสนอผลงาน
และมีการใช้สื่อต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ Powerpoint , Youtube , Dltv ๗ และเกมคณิตศาสตร์ เพื่อกระตุ้นความสนใจ และให้นักเรียนรู้สึกสนุกสนานกับการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 การกำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาย
๑. นักเรียนเขียนอัตราส่วนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณได้
๒. นักเรียนเขียนอัตราส่วนที่เท่ากันโดยใช้หลักการคูณและหลักการหารได้
๓. นักเรียนตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนโดยใช้การคูณไขว้ของอัตราส่วนใดๆได้
๔. นักเรียนเขียนอัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน แทนการเปรียบเทียบปริมาณหลายปริมาณ
ที่กำหนดให้ได้
๒.๒ เป้าหมายกำหนดเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๒.๑ เชิงปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนอนุบาลวังม่วง จำนวน ๘๐ คน ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน โดยมีคะแนนทดสอบหลังเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐
๒.๒.๒ เชิงคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนอนุบาลวังม่วง ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง