บทคัดย่อ
ชื่อเรื่องประเมิน : การประเมินโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้า
แห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง
ชื่อผู้ประเมิน : นางเนตรนภา พวงไธสง
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านหนองแม่แตง (ธรรมศาสตร์อาสา)
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการครั้งนี้ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบการประเมินโครงการเป็นรูปแบบประยุกต์แบบซิปปี้ โมเดล (CIPPI Model) โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (D.L. Stufflebeam) และประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ของพิสณุ ฟองศรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง และ 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง
ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 13 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 135 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 135 คน ของโรงเรียนบ้านหนองม่แตง (ธรรมศาสตร์อาสา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 290 คน โดยเลือก แบบเจาะจงทั้งหมด (Purposive sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likerts Rating Scale) ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินผลด้านสภาวะแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินผลด้านกระบวนการดำเนินงาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลด้านผลผลิต และ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามประเมินผลด้านผลกระทบของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for windows
ผลการประเมินโครงการสรุป ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียงพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบของโครงการการบริหารหลักสูตรบูรณาการวิถีชีวิตท้องถิ่นด้วยต้นกล้าแห่งความดี ตามวิถีชีวิตแบบพอเพียง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก