การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านวังตะกู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
ธีรยุทธ สีเสน
โรงเรียนบ้านวังตะกู
ตำบลแหลมทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ธีรยุทธ สีเสน. (2565). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านวังตะกู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ชัยภูมิ: โรงเรียนบ้านวังตะกู.
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านวังตะกู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1 วัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านวังตะกู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model แหล่งข้อมูลและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (ranting scale) 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ สำหรับผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check List) ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็น มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (RatingScale) 5 ระดับ และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านวังตะกู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 มีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Open ended Questoinnaire)
การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยมีค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency)
ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท
ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนบ้านวังตะกู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ผลการประเมินด้านบริบท (Context) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = 0.20) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.19) ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.32) ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.33) ผลการประเมินด้านผลกระทบ (Impact) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.33) ผลการประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D. = 0.32) ผลการประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83, S.D. = 0.31) ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.32)
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน