การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านภูดิน ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน ขั้นตอนที่ 3 การใช้แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา 2) กลุ่มครูผู้สอน 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 4) กลุ่มนักเรียน และ 5) ผู้ปกครอง ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทาการทดลอง เป็นเวลา 18 สัปดาห์ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน
หลัง (One Group Pretest Posttest Design) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis)
ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง และมีความต้องการในการส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนผ่านรูปแบบการสอนที่เหมาะสม โดยนานิทานพื้นบ้านมาร่วมกับแบบฝึกทักษะ
2. ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน โรงเรียนบ้าน ภูดิน พบว่า แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน ประกอบด้วยกิจกรรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การฝึกอบรมอย่างเข้ม 2) การพัฒนาตนเอง 3) การเป็นพี่เลี้ยง และการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน แบบ PGP Reading และมีความเป็นประโยชน์/ความเป็นไปได้/ความเหมาะสม/ความถูกต้อง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการใช้แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน
1. คะแนนแบบทดสอบหลังเข้าร่วมกิจกรรมตามองค์ประกอบของการพัฒนาตามรูปแบบทั้ง 3 กิจกรรมของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.00 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.00 แสดงว่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 85.00
2. ความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.40 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.00 แสดงว่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 82.00
4. ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน
1. นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน ระดับมากที่สุด
2. แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น พบว่า กิจกรรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การฝึกอบรมอย่างเข้ม 2) การพัฒนาตนเอง 3) การเป็นพี่เลี้ยง และการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านภูดิน แบบ PGP Reading ควรบูรณาการนิทานพื้นบ้าน และแบบฝึกเสริมทักษะ