ผู้รายงาน นายพรหมพิทักษ์ มหาแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านละมุ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านละมุ ตำบลนากระตาม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ปีที่รายงาน 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านละมุในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 การศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1. เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง 4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีผู้ร่วมประเมิน จำนวน 112 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 48 คน และนักเรียน จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ในการประเมินครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น จำนวน 5 ฉบับ และแบบประเมินพฤติกรรม จำนวน 1 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Ration Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .48)
ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = .55) ได้แก่ ด้านความจำเป็น ( = 4.44, S.D. = .55) รองลงมาได้แก่ ด้านความชัดเจนของเป้าหมายอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = .31) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านความต้องการ ( = 4.35, S.D. = .57)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D. = .57)
โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = .60) ได้แก่ ความเหมาะสมของกิจกรรม ( = 4.23, S.D. = .60) รองลงมา ได้แก่ ความพร้อมของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D. = .49) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ความเหมาะสมของงบประมาณ ( = 4.17, S.D. = .62)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .58)
โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = .61) ได้แก่ การวางแผน ( = 4.41, S.D. = .61) รองลงมา ได้แก่ การดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.39,S.D. = .49) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ การนิเทศติดตามและประเมินผล ( = 4.35, S.D. = .64)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ปรากฎผลการประเมินดังนี้
4.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อโครงการ เมื่อพิจารณา
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (( = 4.43, S.D. = .62) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, S.D. = .53) ได้แก่ การประชาสัมพันธ์โครงการ( = 4.78, S.D. = .53) รองลงมาได้แก่ ความเหมาะสมของระยะเวลา สถานที่ในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.77, S.D. = .53) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการอย่างมีความสุข ( = 4.02, S.D. = .60)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อ
โครงการเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.36, S.D. = .76) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.88, S.D. = .50) ได้แก่ความเหมาะสมของสื่อ เอกสาร ครุภัณฑ์ และงบประมาณ ( = 4.88, S.D. = .50) รองลงมาได้แก่ ลำดับขั้นตอนของการจัดกิจกรรมในโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = .70) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การจัดประชุมครูและบุคลากรเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการ ( = 3.94, S.D. = .57) และกิจกรรมงานอาชีพ ( = 3.94, S.D. = .57)
4.3 ผลการประเมินพฤติกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมคุณธรรม 4 ประการโดยภาพรวมอยู่
ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = .63) โดยข้อที่มีโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = .59) ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ( = 4.49, S.D. = .59) รองลงมา ได้แก่ ด้านการแบ่งปัน อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = .68) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านความอดทน ( = 4.36, S.D. = .58)