หัวข้อการศึกษา
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้ กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา ชนิดาภา วชิรบูรณ์สุข
ครู วิทยฐานะครูชํานาญการพิเศษ 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการ คิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด (QR code) สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอารโค้ด (QR code) สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ การคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด (QR code) สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีตอการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการ คิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการ แก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) สําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จํานวน 1 ห้องเรียน รวม 18 คน ซึ่งไดมาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental design) ผู้ศึกษาดําเนินการทดลอง ตามรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซํ้าสองครั้ง (One group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้ กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) จํานวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการ แก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) จํานวน 18 ชั่วโมง 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ชนิดเลือกตอบ4ตัวเลือกจํานวน40ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้ กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) จํานวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคํานวณหาค่าเฉลี่ย(Χ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)และการทดสอบค่าทีแบบ กลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ และ ค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1.แบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใชกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิด ของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด(QR code) สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน นครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.49/86.76
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการ แก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด(QRcode) สําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด (QR code) สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ มีค่าเท่ากับ 0.80 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.00 สูงกว่าเกณฑ์ คือร้อยละ 50 ขึ้นไป
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้ กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร?โค้ด(QR code) สําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2โรงเรียนนครนนท์วิทยา4วัดบางแพรกเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด