ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเบื้องต้น โดยใช้ Flipgrid ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม จังหวัดปทุมธานี
Improving English Reading Skill through Flipgrid of Grade 7 class 4 students, Nongsuawitthayakom School, Pathumtani
ผู้วิจัย นางสาวณัฐวรรณ โสภากุน
กลุ่มสารการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ
ปีการศึกษา ๒๕๖๔
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้ Flipgrid ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ 1/4 โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม
2) เพื่อหาประสิทธิภาพของ การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้ Flipgrid ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ 1/4 โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ เรื่องการใช้ Flipgrid Application เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
1) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 เลขที่ 43 ม.5 ตำบล
บึงบา อำเภอ หนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 15 คน
2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 4 เลขที่ 43 ม.5
ตำบล บึงบา อำเภอ หนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 15 คนคัดเลือกมาแบบเจาะจง (Purposive sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลดำเนินการวิจัย
3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
3.1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง
3.2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
3.3) คลิปวีดีโอ เรื่อง ภาษาอังกฤษในการใช้ชีวิตประจำวัน
3.4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เรื่อง การใช้ Flipgrid Application
เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) โดยนำหลักการและขั้นตอน PAOR ตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด (Kemmis and McTaggart, 1988) มาประยุกต์ใช้ มีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน (Plan)
ผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้
(1) ผู้วิจัยสำรวจปัญหาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม จังหวัดปทุมธานีและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น
(2) ศึกษาเอกสารทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนจากนั้นค้นหาแนวทางหรือจุดที่ต้องปรับปรุงเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่กำลังเกิดขึ้นตามข้อ (1) ให้ดียิ่งขึ้น
(3) ผู้วิจัยดำเนินการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
3) คลิปวีดีโอ เรื่อง ภาษาอังกฤษในการใช้ชีวิตประจำวัน
(4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษเรื่อง ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันเป็นแบบสอบถามที่มีรายการคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับมี 10 รายการคำถามและคําถามปลายเปิด 1 คำถาม จํานวน 1 ฉบับ
ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ (Act)
(1) ผู้วิจัยชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัยแก่นักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียน
(2) ผู้วิจัยทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนภาษาอังกฤษเรื่องการใช้แบบฝึกหัดออนไลน์เพื่อพัฒนาการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ
(3) ผู้วิจัยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกหัดออนไลน์เรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวันทั้งหมดหมด 2 คาบ
(4) ผู้วิจัยตรวจสอบและเก็บรวบรวมคะแนน / ผลการเรียนระหว่างเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างขณะเรียนภาษาอังกฤษตามกิจกรรมเรื่องการใช้แบบฝึกหัดออนไลน์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกิจกรรม / ภาระงานที่ได้กำหนดไว้
ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ (Observe)
ผู้วิจัยตรวจสอบผลหลังจากพัฒนานักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบฝึกหัดออนไลน์เรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวันทั้ง 2 คาบและตรวจสอบผลที่ได้จากการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษอย่างไรบ้างการดำเนินการในขั้นตอนนี้มีดังนี้
(1) ผู้วิจัยทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังจากเรียนด้วยตัวอย่างคลิปวีดีโอเรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวันทั้งหมด 2 คาบเสร็จสิ้นแล้วโดยใช้แบบทดสอบหลังเรียนภาษาอังกฤษเรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
(2) ผู้วิจัยสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการการเรียนภาษาอังกฤษเรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวันด้วยแบบฝึกหัดออนไลน์โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect)
ผู้วิจัยวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 2 และ 3 ได้แก่
(1) ผลการทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนภาษาอังกฤษเรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
(2) คะแนน / ผลการเรียนระหว่างเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างขณะเรียนภาษาอังกฤษตามกิจกรรม / ภาระงานที่ได้กำหนดไว้ในแบบฝึกหัดออนไลน์เรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
(3) ข้อมูลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการเรียนภาษาอังกฤษเรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวันด้วยแบบฝึกหัดออนไลน์จากนั้นสรุปผลการวิจัยที่ได้จากการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนเรื่องการใช้ภาอังกฤษในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้พร้อมทั้งระบุปัญหาและอุปสรรคเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการครั้งต่อ ๆ ไป
7) การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
7.1) วิเคราะห์ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเรื่องการใช้สื่อ CAI พัฒนาการ (Mean: X) ค่าความเบี่ยงเบนเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (Standard deviation: S.D. ) และค่าร้อยละ (Percentage: P)
7.2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้สื่อ CAI พัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างว่าสามารถพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ภายใต้สถานการณ์และกิจกรรมที่กําหนดและส่งผลให้นักเรียนเกิดสัมฤทธิ์ผลหรือบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป็นไปตามที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใดวิเคราะห์ผลจากคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่ได้จากการแบบทดสอบก่อนเรียนและคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนเป็นค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เทียบกับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) หรือ E1 / E2
7.3) วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean: X) และคาความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: S.D. ) และวิเคราะห์ข้อมูลการแสดงความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้เขียนตอบไว้ท้ายแบบสอบถามความพึงพอใจด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Content analysis)
7.4) การทดสอบสมมติฐานว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนเรื่องการใช้สื่อ CAI พัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples)
สรุปผลการวิจัย
1. แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านเบื้องต้นที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.18/84.70 สรุปได้ว่า การพัฒนาทักษะการอ่านเบื้องต้นโดยใช้ flipgrid ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้ flipgrid เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเบื้องต้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้ flipgrid มีความหมายโดยรวมทั้ง 10 รายการในเกณฑ์พึงพอใจมากที่สุด คือนักเรียนกลุ่มตัวอย่างพึงพอใจมากที่สุดต่อการใช้ flipgrid ในการพัฒนาทักษะการอ่านเบื้องต้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้
- ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองเสือวิทยาคมมีแนวทางในการนำ Flipgrid Application ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษอื่น ๆ ให้แก่นักเรียน
- นักเรียนมีความสนใจที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้นและสามารถอ่านภาษาอังกฤษเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
- ครูได้พัฒนาตนเองด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคสมัยและสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในชั้นเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้