การประเมินโครงการพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการใน 5 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลผลิต และด้านผลลัพธ์ของโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 9 คน ครูผู้สอน จำนวน 55 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 286 คน และนักเรียน จำนวน 286 คน เครื่องมือการประเมินเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพเครื่องมือ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา สถิติการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ดำเนินการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินด้านบริบทของการพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของการพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การประเมินด้านกระบวนการของการพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินด้านผลผลิตของการพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง โดยผลผลิตของโครงการในแต่ละด้าน มีดังนี้
4.1 ผลผลิตด้านนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลผลิตด้านครู พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลผลิตด้านผู้บริหาร พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ผลผลิตด้านโรงเรียน โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ผลผลิตด้านชุมชน โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. การประเมินด้านผลลัพธ์ของการพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด