บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย เรื่อง การถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาสกลนคร มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษา 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาสกลนครที่มีผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 2) ศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาสกลนคร 3) ศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยได้ดําเนินงานวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ประกอบดวย ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดยศึกษาการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน ผลกระทบ ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ดำเนินการโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครูผู้สอน และนักเรียน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 500 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Yamane (1973) แล้วสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนให้มีการกระจายตามบทบาทและสถานภาพของผู้ให้ข้อมูล ได้ข้อมูลกลับคืนมาทั้งสิ้นจำนวน 412 คน (ร้อยละ 82.40) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ จำแนกตามกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) แบบสอบถามถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2) แบบสอบถามถามสำหรับครู 3) แบบสอบถามถามสำหรับนักเรียน 4) แบบสอบถามถามสำหรับผู้ปกครอง และ 5) แบบสอบถามถามสำหรับกรรมการสถานศึกษา แบบสอบถามถามทุกฉบับตรวจวัดและประเมินผลคุณภาพความตรง (Validity) มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 1.00 และความเที่ยง (Reliability) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของแบบสอบถามทั้ง 5 ฉบับอยู่ระหว่าง 0.78 - 0.96 ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครและครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการสนทนากลุ่มโดยผ่านระบบออนไลน์ มีผู้บริหารร่วมสนทนากลุ่ม 13 คน และครู 33 คน รวม 46 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา ซึ่งเลือกแบบเจาะจงโดยมีนักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน และกรรมการสถานศึกษา 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผลกระทบของการจัดการเรียนรู้ ความคิดเห็นการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แนวคำถามการสัมภาษณ์ ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาความถี่ และร้อยละค่าเฉลี่ย x ̅ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ตามวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย (inductive analytic method)
คำสำคัญ : ถอดบทเรียน, การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์, สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19,
บทนำ
งานวิจัยนี้มุงสร้างความเขาใจในสถานการณที่เกิดขึ้นและผลกระทบดานการจัดการเรียนรู้
รูปแบบออนไลน์ในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครในชวงที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ปการศึกษา 2563 ในเวลานั้นโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิทำการปด สงผลกระทบกับการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเปนอยางมาก ทั้งครูและผู้เรียนตองปรับตัวในเวลาที่จํากัด แมการปรับตัวที่เกิดขึ้นจะเปนที่รับทราบกันโดยทั่วไป แตก็ไมไดตั้งอยูบนพื้นฐานของขอมูล ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงไดรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในมุมมองของครูผู้สอนและผู้เรียนมาวิเคราะหเพื่อถอดบทเรียนที่ไดรับจากเหตุการณครั้งนี้ จากสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019-COVID - 19) องคการอนามัยโลกไดประกาศเปนภาวะฉุกเฉินทั่วโลก และมีการแพรระบาดในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลไดประกาศสถานการณฉุกเฉินเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 เพื่อเปนการปองกันและควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 โดยกําหนดแนวทางการปองกันโรคดวยการงดการเดินทางไปที่ชุมชน การเวนระยะหางทางสังคม (Social Distancing) ใสหนากากอนามัย ลางมือบอย ๆ และปฏิบัติตามคําแนะนําเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (กรมควบคุมโรค,2563) สถานการณที่เกิดขึ้นไดสงผลกระทบในทุกภาคสวน โดยเฉพาะภาคการศึกษา เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการจัดการศึกษาที่ตองจัดใหมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อมิใหหยุดชะงัก เพราะจะสงผลตอคุณภาพและผลลัพธการเรียนรูของผูเรียน กระทรวง ศึกษาธิการจึงไดประกาศมาตรการและการเฝาระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ใหสถานศึกษาในสังกัดหลีกเลี่ยงกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุม การสัมมนาใด ๆ รวมทั้งใหใชระบบการเรียนการสอนออนไลนและการประชุมออนไลนแทน (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธใหม 2019 (Covid-19) ของบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิในฐานะสถาบันการศึกษาในสังกัด ฯ ไดขานรับนโยบายและมีแนวทางในการจัดการเรียนการสอน โดยในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงมาเปนรูป แบบออนไลนเกือบทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงการวัดและประเมินผลที่เปลี่ยนแปลงดวย โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิไดเล็งเห็นความสําคัญในการสงเสริมสนับสนุนใหผูบริหาร ครู ผู้เรียนและบุคลากร และผลการจัดการเรียนรูที่เกิดขึ้น โดยศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน เพื่อสรุปบทเรียนที่เปนประโยชนและสรางแนวทางการพัฒนาดานการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิไดตอไป
กรอบแนวคิดการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี ทิศทางการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรด้านการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ผลการวิจัยดังกล่าว จะนำไปเป็นฐานข้อมูลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ซึ่งเป็นกรณีที่ครูผู้สอนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ สรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ดังนี้
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริช
ภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
เพื่อศึกษาผลกระทบของในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อ
การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
การดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยผู้วิจัยได้ทำการสำรวจด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานประกอบดวย 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสํารวจเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และระยะที่ 2 การสํารวจเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยประชากรและกลุมตัวอยางของการวิจัยในแตละแบบจะประกอบไปดวย ระยะที่ 1 การสํารวจเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใชในงานวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู และนักเรียน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 500 คน ที่ไดรับผลกระทบในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในปีการศึกษาที่ 2563 กลุ่มตัวอย่างใชในงานวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู และนักเรียน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน ±5% ได้กลุ่มตัวอย่างของแต่ละกลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู และนักเรียนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร รวมทั้งสิ้น 412 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มโดยกำหนดตามสัดส่วนให้มีการกระจายตามโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ระยะที่ 2 การสํารวจเชิงคุณภาพ (qualitative research) ดำเนินการโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการสนทนากลุ่มโดยผ่านระบบออนไลน์ มีผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครร่วมสนทนากลุ่ม 13 คน และครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 33 คน รวม 46 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ซึ่งเลือกแบบเจาะจงโดยมีนักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน และกรรมการสถานศึกษา 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ ผลกระทบของการจัดการเรียนรู้ ความคิดเห็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แนวคำถามการสัมภาษณ์ ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ตามวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย (inductive analytic method)
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยไว้ ดังนี้
การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครที่ใช้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 มี 2 รูปแบบหลัก คือ 1. การใช้การใช้แพลตฟอร์มแอพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น Google Meet, Zoom, MST การใช้สื่อ Social Media คิดเป็นร้อยละ 81.25 2.การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ e-learning โดยผ่านระบบสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 12.50
2. ผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.77 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ผลกระทบทางบวก 1) 1) ครูต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ 2) ครูต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 3) ครูต้องให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียน และผู้ปกครองมากขึ้น 4) ครูและผู้ปกครองมีโอกาสได้ร่วมกันดูแลการเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้น 5) ครูและผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.80 และ 6) ครูมีความกระตือรือร้นต่อการจัดการเรียนรู้และการดูแล เอาใจใส่นักเรียนมากขึ้น ผลกระทบทางลบ 1) ครูมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน 2) ครูมีภาระงานในการจัดการเรียนรู้และการดูแลนักเรียนมากขึ้น 3) คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูลดลง 4) ครูมีเวลาในการพักผ่อน/ดูแลครอบครัวของตนเองน้อยลง 5) ครูวิตกกังวลว่าผลการเรียนของนักเรียนจะตกต่ำลง และ 6) ครูวิตกกังวลเรื่องสถานศึกษาขาดความพร้อมในการจัดการเรียนรู้
3. ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร พบว่า
3.1 ความคิดเห็นผู้บริหาร โดยภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 8 รายการคือ 1) รัฐ/หน่วยงานต้นสังกัดมีนโยบายและมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนตรงกัน 2) ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ตามนโยบายได้ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 4) ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถจัดอาคารสถานที่/การจัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 5) ผู้บริหารสถานศึกษาให้การนิเทศ ความช่วยเหลือ และสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 6) ครูมีความเข้าใจในวิธีการและสามารถจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ 7) ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ เอาใจใส่ ดูแลนักเรียน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ 8) ผู้ปกครองมีการประสานงานกับสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
3.2 ความคิดเห็นครู โดยภาพรวมครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.45 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.24 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 7 รายการคือ 1) รัฐ/หน่วยงานต้นสังกัดมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 2) ผู้บริหารสถานศึกษาให้การนิเทศ ช่วยเหลือ และสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 3) ครูจัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 4) ครูมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 5) ครูมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ของนักเรียน 6) นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ 7) ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ มีการสื่อสารและประสานงานกับครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
3.3 ความคิดเห็นนักเรียน โดยภาพรวมนักเรียนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.45 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 8 รายการคือ 1) ครูมีการให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติตนของนักเรียนใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 2) ครูสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักเรียนในระหว่างการ จัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 3) ครูมีการให้คำปรึกษากับผู้ปกครองกรณีพบปัญหาในระหว่าง การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ 4) ครูควรช่วยแก้ปัญหาให้กับนักเรียนในการใช้สื่อออนไลน์หรือ โทรทัศน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 5) นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 6) ครูติดตามให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 7) โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยคำนึงถึงโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน และ 8) ครูติดตามให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19
3.4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ปกครองและชุมชน โดยภาพรวมผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.26 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 11 รายการคือ 1) ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครู 2) ผู้ปกครองดูแล เอาใจใส่ ให้ความช่วยเหลือต่อการเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3) ครูมีการให้คำปรึกษา แนะนำในการปฏิบัติตนของนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 4) โรงเรียนมีการชี้แจงให้ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับ ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 5) โรงเรียนมีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียน ครูและ ผู้ปกครองที่เหมาะสม 6) โรงเรียนมีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียน ครูและ ผู้ปกครองที่เหมาะสม 7) โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงให้ปกครองและนักเรียนทราบรูปแบบหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ 8) ครูให้คำปรึกษากับผู้ปกครองกรณีพบปัญหาในระหว่างการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ 9) ครูมีการติดตามการเรียนรู้ของนักเรียนในระหว่างการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 10) นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ 11) โรงเรียนมีการจัดเวลาเรียนเหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19
3.5 ความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.31 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.24 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 7 รายการ คือ 1) กรรมการสถานศึกษาให้ความช่วยเหลือ และสร้างขวัญ กำลังใจให้ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 2) กรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) โรงเรียนมีการเร่งดำเนินการการจัดการเรียนรู้ตามมาตรการ อย่างทันท่วงที 4) โรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงคุณภาพของนักเรียน 5) โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนในการ สนับสนุนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 6) กรรมการสถานศึกษาได้รับรู้นโยบายและแผนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ 7) หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ ให้ความร่วมมือและ สนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือในการจัดการเรียนรู้
อภิปรายผล
จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่ามีประเด็นสำคัญที่ควรนำมาอภิปรายผล ดังนี้
1.ประเด็นการอภิปรายผลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์
จากผลการวิจัยที่พบว่า การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครที่ใช้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในปีการศึกษา 2563 ส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์มแอพลิเคชั่น Google Meet, Zoom และการให้คำแนะนำเป็นลำดับแรก รองลงมาคือการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ e-learning โดยผ่านระบบสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นมีการแพร่ระบาดของโรคที่ค่อนข้างรุนแรง กระทรวงศึกษาธิการจึงมีประกาศปรับการเปิดภาคเรียนจากวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 มาเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ทำให้สถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ
2. ประเด็นการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์
จากผลการวิจัยที่พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ส่งผลกระทบทางบวกให้ผู้บริหารและครูเร่งพัฒนาตนเองทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับรูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ขณะที่นักเรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี มีวินัยในการเรียนและใฝ่รู้ใฝ่เรียนมากขึ้น รวมทั้งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียน หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น ผลที่ได้เช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 นี้ นอกจากสร้างผลกระทบทางลบแล้วยังสร้างโอกาสและบทเรียนให้กับระบบการศึกษาได้ไม่น้อย โดยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา สนับสนุนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เป็นตัวเร่งให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกฝ่ายต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อให้ระบบการศึกษาดำเนินต่อไปได้ โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศคือเครื่องมือสำคัญในการปรับตัวครั้งนี้ ส่งผลให้ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองต้องปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ และปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้สถานศึกษาปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่เกิดขึ้นได้ดีคือ การสนับสนุนและความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีเรื่องการปรับตัวของ Roy (อ้างถึงใน Roy & Andrews, 1999) ที่กล่าวว่า เมื่อเกิดสิ่งเร้า ก็จะเกิดขบวนการเผชิญปัญหา และนำมาซึ่งการปรับตัว ซึ่งการปรับตัวมีทั้งสิ่งที่ปรับตัวได้และ สิ่งที่ปรับตัวไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของสิ่งเร้าและความสามารถในการปรับตัวของแต่ละบุคคล และสอดคล้องกับรายงานของ World Economic Forum 2020 (อ้างถึงใน เสาวณี จันทะพงษ์ และ ทศพล ต้องหุ้ย, 2020) ที่ศึกษาผลกระทบของ COVID-19 ต่อประเทศจีนว่า ก่อให้เกิดพัฒนาการหลายอย่าง เช่น 1) เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนในการจัดการวิกฤติ COVID -19 ที่มีความโปร่งใส และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 2) เกิดการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังที่รวดเร็วเพื่อลดผลกระทบ และ 3) เกิดโอกาสใหม่ ๆ ของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศศิจันทร์ ปัญจทวี (2560) ที่ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ ที่พบว่ามี 3 ประการที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ความคาดหวังจากประสิทธิภาพ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การได้รับการสนับสนุนการใช้ระบบสารสนเทศจากผู้บังคับบัญชา
3. ประเด็นการอภิปรายเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการครูและบุคลากรให้สามารถจัดการเรียนรู้ตามนโยบายได้ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้มีการนิเทศ ช่วยเหลือ และสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 เตรียมความพร้อมให้นักเรียนในช่วงก่อนการเรียนการสอน จัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้ จัดหาสื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างเพียงพอ และมีการเร่งดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามมาตรการอย่างทันท่วงที ครูมีความเข้าใจวิธีการและสามารถจัดการเรียนรู้มีการจัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมและเหมาะสม ติดตามให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้ และครูมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ช่วยเหลือ แนะนำกรณีที่พบปัญหาในการเรียนรู้ มีการให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติตนของนักเรียน นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อย่างเคร่งครัด มีความกระตือรือร้นและรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขภาพ ติดตามข่าวสารและศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองมากขึ้น ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ เอาใจใส่ ดูแลนักเรียน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนมากขึ้น ในขณะที่ผู้ปกครองบางส่วนมีภาระงาน ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่มากนัก กรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 รักษามาตรการเว้นระยะห่าง และมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มงวด นักเรียนต้องล้างมือและใส่หน้ากากอนามัย นั่งกินข้าวห่างกัน 1 เมตร ห้องเรียนมีขนาดเล็กลง มีห้องแยกสำหรับนักเรียนที่มีไข้ และนักเรียนมาโรงเรียนได้ตามช่วงเวลาที่จัดให้ เป็นต้น (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2563, น. 29-30)
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1. สถานศึกษา ควรใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และประกอบการตัดสินใจวางแผนดำเนินการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดย 1) ควรจัดวัสดุ อุปกรณ์สุให้เหมาะสม เพียงพอต่อจัดการเรียนรู้ 2) ควรสื่อสารสร้างความเข้าใจแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครู และการจัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 3) เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามาร่วมมีบทบาทในการจัดการและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ (4) ควรสนับสนุนให้ครูพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน
2. ครูผู้สอน ควรใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยในการส่งเสริมช่วยเหลือนักเรียนและให้คำ
ปรึกษา คำแนะนำผู้ปกครองเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 โดย 1)ครูผู้สอนควรลดภาระงานของนักเรียนให้เหมาะสมกับสภาพของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) เพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาและบันทึกการสอนเพื่อรับชมยอนหลัง 3) ควรประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อสำรวจความต้องการความช่วยเหลือสำหรับกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบ 4) ควรชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์และจัดทำคู่มือรวมถึงการปฏิบัติตนสำหรับนักเรียน และผู้ปกครอง 5) ควรส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เสริมสร้างเจตคติต่อการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง และมีความฉลาดรู้ในการใช้สื่อเทคโนโลยี (Digital Literacy) เพื่อการแสวงหาความรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ