บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐาน
อย่างมีประสิทธิผล โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล)
ผู้รายงาน นายพงษ์ศักดิ์ ดีอุดม
หน่วยงาน โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ปีที่ประเมิน 2563
การประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐาน อย่างมีประสิทธิผล โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐานอย่างมีประสิทธิผล โรงเรียน ชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) ตามรูปแบบ CIPPIEST Model (Stufflebeam & Shinkfield, 2007) และ 2) ประเมินผลกระทบการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโดยใช้การมีส่วนร่วม ของชุมชนเป็นฐานอย่างมีประสิทธิผล โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย กลุ่มบุคลากรในชุมชน และกลุ่มบุคลากรในสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 250 คน ได้จากการสุ่มเลือกแบบแบ่งกลุ่มชั้นหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) สู่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพอาศัย 3 ขั้นตอน คือ การลดทอนข้อมูล การจัดระบบข้อมูล และการตีความนำไปสู่บทสรุป ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ เชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ด้านบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด โครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก สถานศึกษามีมาตรการดูแลความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เช่น ระบบจราจร การสวมหมวกกันน็อค เป็นต้น และ สถานศึกษามีโรงอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะและมีการจัดการน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย
3. ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด สถานศึกษา มีกระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน ผู้ปกครองหรือหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก โรงเรียนมีภาคีเครือข่าย ความร่วมมือจากชุมชนในการมีส่วนร่วมดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียนเชื่อมั่นด้านการดูแลนักเรียนทั้งด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
5. ด้านผลกระทบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก นักเรียน ครู และคนในชุมชนมีการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัย
6. ด้านประสิทธิผล โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นที่จะดูแลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
7. ด้านความยั่งยืน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด ผู้เรียนมีสุขภาพทางกาย ใจ สังคมและปัญญา สามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข
8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้
9. ความพึงพอใจต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐาน อย่างมีประสิทธิผล โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับ มากที่สุด การมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ผลกระทบการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นฐานอย่างมีประสิทธิผล โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) การจัดทำมาตรการด้านความปลอดภัยร่วมกับชุมชน 2) การจัดตั้งภาคีเครือข่ายในการดูแล ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 3) การจัดทำคู่มือการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 4) การบูรณาการจัดการเรียนรู้ ด้านความปลอดภัยในโรงเรียน 5) การปลูกฝังให้เด็กสามารถเอาตัวรอดจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ 6) การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดเพื่อลดจุดเสี่ยง และ 7) การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านความปลอดภัยของคนในชุมชน
ข้อเสนอแนะ
1. ควรนําผลการประเมินโครงการไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
2. ควรมีการเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย เป็นต้น เพื่อเป็นการวางแผนรับมือภัยพิบัติและการประเมินสถานการณ์
3. ควรมีการติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสำเร็จการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะการบูรณาการทำงานทุกภาคส่วนของชุมชน
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, สถานศึกษาปลอดภัย, การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐาน