เรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง และโน้มน้าวใจ
รายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลานทรายพิทยาคม
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL)
ประจำปี 2564
ผู้ศึกษา นางภรณ์ณภัส จำปาทอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่องการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้งและโน้มน้าวใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) 2) เพื่อประเมินตามสภาพจริง ทักษะการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้งและโน้มน้าวใจ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง และโน้มน้าวใจ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) และ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนลานทรายพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา
ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง และโน้มน้าวใจ จำนวน 9 แผน ได้แก่ 1) การพูดดีทำให้มีเสน่ห์ 2) การพูดแสดงทรรศนะ 3) การพูดโน้มน้าวใจ 4) การพูดโต้แย้ง
5) การโต้วาทีมีวิธีอย่างไร 6) การฝึกปฏิบัติการพูดโต้วาทีตามบทพูด 7) การแบ่งกลุ่มโครงงานการพูดโต้วาที 8) ยิ่งซ้อม ยิ่งเก่ง การฝึกซ้อมพูดโต้วาที และ 9) การพูดโต้วาทีอย่างสร้างสรรค์
(2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เรื่อง เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง และโน้มน้าวใจ จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันแต่มีการสลับข้อกัน (3) แบบประเมินทักษะการพูดตามสภาพจริง หลังเรียนเรื่องการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ จำนวน 1 ฉบับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าร้อยละของค่าเฉลี่ย (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation
ผลการศึกษาพบว่า
1. พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการประเมินคะแนนทดสอบความรู้หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนมีคะแนนโดยรวมเฉลี่ย เท่ากับ 33.53 คิดเป็นร้อยละ 83.82
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลานทรายพิทยาคม ร้อยละ 100 มีทักษะ
การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) อยู่ในระดับ ดี - ดีมาก แยกเป็นมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 70.59 และอยู่ในระดับดี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 29.41
3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง
โน้มน้าวใจ รายวิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 7 ข้อ และมีค่าเฉลี่ยยอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ข้อ และมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.51 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า ข้อ 6 สื่อวีดีโอที่ครูนำมาใช้มีประโยชน์ในการพัฒนาการพูด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.75, S.D.= 0.00) และ นักเรียนมีความมั่นใจในการพูดมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.20, S.D.= 0.00)
ข้อเสนอแนะ
1. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยควรจัดกิจกรรมให้มีการฝึกพูดและฝึกเขียนในทุกชั้นปี เพราะการจัดกิจกรรมให้นักเรียนฝึกพูด เป็นการฝึกให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ แล้วนำเรียบเรียงเป็นบทเขียนก่อนพูด ทำให้นักเรียนเข้าใจโครงสร้างของการเขียนและการพูดไปในตัว ครูควรใช้คำถามตามหลักการโค้ชชิ่งเพื่อให้นักเรียนได้เกิดความรู้และความคิดและความเข้าใจบทเรียนที่ถูกต้อง และควรเสริมแรงทางบวกเพียงด้านเดียวก่อนในการฝึกพูด ไม่ตำหนิให้เสียใจ เพื่อสร้างให้นักเรียนเกิดความกล้าและรู้สึกว่ามีคุณค่าเกิดความความภาคภูมิใจในตนเองในเวลาต่อมา ซึ่งความภาคภูมิใจในตนเองนี้เองเป็นบ่อเกิดความเชื่อมั่นและความเป็นผู้นำในที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมที่สามารถนำมาใช้สอนในรายวิชาภาษาไทยรวมทั้งรายวิชาอื่นๆ ในยุคศตวรรษที่ 21 เพราะสามารถสร้างให้นักเรียนได้ทั้งความรู้ ทักษะ และเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้มนุษย์เกิดปัญญา