ชื่อผลงาน โครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวปวริศา มีศรี
ปีที่ทำการประเมิน 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และ4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ คณะครู จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 89 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม และการเก็บรวบรวมเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Window
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 สรุปได้ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อม จากความคิดเห็นของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อผลการดำเนินการด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.41) พบว่า โครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนสอดคล้องกับนโยบายของสานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (x̄ =4.60) อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม (x̄=4.60) และโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม มีวัตถุประสงค์ชัดเจน (x̄=4.53) และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สามารถนำไปปฏิบัติได้ (x̄=4.06) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า จากความคิดเห็นของคณะครู มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.20) พบว่า โรงเรียนมีความรู้ และประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน (x̄=4.67) อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ มีคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ( x̄=4.50) และมีแผนการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ( x̄=4.33) และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน มีความน่าสนใจ (x̄=3.83) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน จากความคิดเห็นของคณะครู ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.08) พบว่า มีการแจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (x̄=4.50) อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ มีการประชุมชี้แจ้งให้นักเรียน ให้ทราบเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน (x̄ =4.50) และมีการประเมินการดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน อย่างต่อเนื่อง(x̄=4.33) และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน (x̄ =3.50) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4. ด้านผลผลิต ของโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยรวม เฉลี่ยร้อยละ 93.26 อยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินความสามารถด้านการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เฉลี่ยร้อยละ 88.54 อยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินความสามารถด้านการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เฉลี่ยร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนด