ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาการอ่าน และการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด
ผู้วิจัย ปาริชาติ ไชยราช
สถาบัน โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้จัดการเรียนการสอน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน ประกอบด้วย นักเรียนชาย จำนวน 4 คน และนักเรียนหญิง 6 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ จำนวน 18 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษา หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) ของนักเรียนกลุ่มประชากร ทั้ง 18 ชุด ได้ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.15 และคะแนนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน หรือประสิทธิภาพผลสัมฤทธิ์ (E2) ของนักเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 89.47
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง แบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนกลุ่มประชากร จำนวน 10 คน มีคะแนนเฉลี่ย ก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 12.16 คิดเป็นร้อยละ 40.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.537 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 26.84 คิดเป็นร้อยละ 89.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.500 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนที่เปลี่ยนแปลงของการทดสอบทั้งสองครั้งแล้ว พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนและคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 37.37
3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำ อยู่ในระดับมาก (x ̅) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อปรากฎว่า รายการหลังจากเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำแล้ว นักเรียนทำแบบทดสอบได้ นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง สำหรับรายการอื่นๆ นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก
คำสำคัญ : นวัตกรรม การพัฒนาการอ่าน และเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ่อดอกซ้อนท่าวัด