ชื่อผลงาน : การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์สถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2561-2562
ผู้รายงาน : นายภราดร พวงดี โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์)
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2561-2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์สถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2561-2562 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามอัตลักษณ์สถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 2) เพื่อศึกษาผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ตามสภาพจริงของนักเรียน หลังการพัฒนา คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามอัตลักษณ์สถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2561-2562 3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์สถานศึกษา หลังการพัฒนาโดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2561-2562 4) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา หลังการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามอัตลักษณ์สถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2561-2562 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์สถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2561-2562 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 มีนาคม 2563 ต่อเนื่องตลอด 2 ปีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 68 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 74 คน 2) กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 9 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 8 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองปีการศึกษา 2561 จำนวน 68 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 74 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาปีการศึกษา 2561 และ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน และ 5) กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 และ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ แบบบันทึกผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 2 ฉบับรวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.91-0.96 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2561 ช่วงเดือนมีนาคม 2562 และครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์สถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์สถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.23 , S.D. = 0.48) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( = 4.29 , S.D. = 0.66) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.25 , S.D.= 0.47) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.29, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง พบว่า ปีการศึกษา 2561 มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์รวมทั้งสิ้น 14 คน คิดเป็นร้อยละ 20.58 ของนักเรียนทั้งหมด ปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งสิ้น 8 คน คิดเป็นร้อยละ 10.81 สรุปผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หลังการพัฒนาทั้งสองปีการศึกษา พบว่า โรงเรียนสามารถลดจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้จำนวน 22 คน คิดเป็น ร้อยละ 15.49 และเป็นที่น่าสังเกตว่า ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสามารถลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนทุกระดับลดลง สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์สถานศึกษาหลังการพัฒนา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง
ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทั้งสองกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.23 , S.D. = 0.69) อยู่ในระดับมาก และด้านผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.22 , S.D. = 0.47)
ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทั้งสองกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.53 , S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.29, S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไปโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไปหลังการพัฒนา ทั้ง 2 ปีการศึกษามีค่าเฉลี่ยร้อยละมากกว่า ร้อยละ 90 ทั้ง 8 ประการ โดยปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2561 ทั้ง 8 ประการ และเมื่อพิจารณาค่าพัฒนา พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่อย่างพอเพียง มีค่าพัฒนาสูงสุด +3.08 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสง มุ่งมั่นในการทำงาน +2.70 ส่วนคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ มีค่าพัฒนาต่ำสุด +1.54 สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ตามอัตลักษณ์สถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ PHARADON MODEL โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๒ (บ้านเนินแร่ไพบูลย์ราษฎร์สงเคราะห์) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.28, S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 4.2, S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ต่ำสุด ( =4.1, S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ปะเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด ( = 4.55, S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.55, S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.49, S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมาก เช่นกันสอดคล้องตามสมมติฐาน