บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) จากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) พร้อมทั้งข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ในการเรียนการสอนออนไลน์ Online learning) และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) การใช้แบบสำรวจและค่าสถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ (percentage) ใช้สำหรับอธิบายเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ความถี่ และค่าเฉลี่ย มาใช้ในการอภิปรายเพื่ออธิบายและจัดลำดับชั้นของข้อมูล ค่า t-test ใช้ในการเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรตามที่ตัวแปรอิสระจำแนกเป็น 2 กลุ่ม และวิเคราะห์ความแปรปรวน (one-way ANOVA) ใช้ในการเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรตาม ที่ตัวแปรอิสระจำแนกมากกว่าเป็น 2 กลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) ในระดับมากที่สุด ทั้ง 2 ด้าน คือ ความพึงพอใจในการสอนออนไลน์ (Online learning) ของครู ความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ (Online learning) ของนักเรียน โดยที่เพศ และระดับชั้นเรียนของนักเรียนไม่มีผลต่อความพึงพอใจต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) ส่วนอายุของนักเรียน มีผลต่อความพึงพอใจต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำนำ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ประเทศไทยได้มีการออกมาตรการควบคุมโรคอยางครอบคลุมและชัดเจน เพื่อให้การตลาดและเศรษฐกิจดําเนินการได้อย่างปกติ (Natchapon, 2020) สถาบันการศึกษาเป็นสถานที่มีผู้เรียนอยู่รวมกันจำนวนมาก มักจะมีความเสี่ยงสูงหากมีระบบการจัดการที่ไม่ดีอาจจะมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ได้อย่างรวดเร็วไปยังบุคคลในบ้าน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2563) ในช่วงระยะการระบาดของโรคไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ตามปกติ สิ่งที่จําเป็นคือการวางแนวทางในการเปิดสถานศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ ควบคู่กบการใช้มาตรการทางด้านสาธารณสุขและมาตรการทางสังคมอยางเคร่งครัด จึงต้องมีการจัดการเรียนการสอน ให้อยู่บนระบบออนไลน์ โดยการนําเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ และใช้เครื่องมืออํานวยความสะดวกในการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2563)
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) เป็นสิ่งใหม่ในการรับรู้ของบุคคลทั่วไป แต่สำหรับแวดวงการศึกษาได้รับรู้และตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) แล้วด้วยกระบวนทัศน์การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่มีการปรับตัวทีละน้อย แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 จึงได้มีการปรับใช้ในอัตราที่เร่งขึ้น อาจจะมีความปัญหาบ้าง แต่เมื่อตั้งหลักได้ก็สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเลือกใช้แพลตฟอร์มตามที่ถนัด การออกแบบบทเรียน การจัดการห้องเรียน การใช้สื่อในการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ถึงแม้จะมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติ แต่ต้องยอมรับว่าการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) เป็นวิถีใหม่ที่จะเป็นไปของการศึกษาไทยในอนาคตอันใกล้นี้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวประกอบกับในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) จึงได้ดำเนินการทัศนคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) จากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) ในแต่ละระดับชั้น ที่เน้นความสนใจของนักเรียน เน้นการสอนโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย จัดทำสื่อการสอนที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียนเพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิตโดยทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องมีการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาทัศนคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) จากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564 พร้อมทั้งข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ในการเรียนการสอนออนไลน์ Online learning) และนำไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางแนวทาง
ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) ให้มี)ระสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 89 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ (Online learning) ซึ่งเป็นแบบสำรวจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยสร้าง ในลักษณะแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า (rating scale) แบบ 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด
วิธีการสร้างเครื่องมือ
ศึกษาทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ (Online learning) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) เพื่อให้ได้รายละเอียดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษา
1. กำหนดขอบเขตของความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ (Online learning) โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1.1 ความพึงพอใจในการสอนออนไลน์ (Online learning) ของครู
1.2 ความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ (Online learning) ของนักเรียน
2. สร้างแบบสอบถาม เพื่อสำรวจความพึงพอใจ โดยสร้างแบบ สำรวจแบบพรรณนา (descriptive surveys) เป็นคำถามชนิดปลายปิด (close end) แบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป เพื่อทำการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่ออธิบายความหมายต่อไป
1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าสถิติร้อยละ (percentage) ใช้สำหรับอธิบายเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
2. ความถี่ และค่าเฉลี่ย มาใช้ในการอภิปรายเพื่ออธิบายและจัดลำดับชั้นของข้อมูล
3. ค่า t-test ใช้ในการเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรตามที่ตัวแปรอิสระจำแนกเป็น 2 กลุ่ม
4. วิเคราะห์ความแปรปรวน (one-way ANOVA) ใช้ในการเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรตาม ที่ตัวแปรอิสระจำแนกมากกว่าเป็น 2 กลุ่ม
สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05
สรุปผลการศึกษา
ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 55.06 มีอายุ 15 ปี จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 32.58 โดยมีอายุเฉลี่ย 14.25 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 37.08
ทัศนคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) จากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564
ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) จากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) ในระดับมากที่สุด ทั้ง 2 ด้าน คือ ความพึงพอใจมีต่อการสอนออนไลน์ (Online learning) ของครู และความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ (Online learning) ของนักเรียน
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564 ที่เข้าเรียนออนไลน์ (Online learning) ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ สรุปได้ ดังนี้
1. อินเตอร์เน็ตที่บ้านไม่ค่อยแรง ทำให้ฟังครูพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
2. อยากให้ครูสั่งการบ้านน้อยกว่านี้
3. อยากมาเรียนที่โรงเรียนแบบได้เจอเพื่อน เจอครู
ผลการทดสอบสมมติฐาน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564 ที่เข้าเรียนในวิชาการงานอาชีพ ที่มีเพศ และระดับชั้นเรียนที่แตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสิงห์ (แจ่มชื่นวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2564 ที่เข้าเรียนในวิชาการงานอาชีพ ที่มีอายุแตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ
1. จากการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (Online learning) ในระดับมากที่สุด ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) จะต้องสอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน เน้นการสอนโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย จัดทำสื่อการสอนที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียน
2. การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) ในปีการศึกษาต่อไปควรมีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น เช่น กำหนดช่วงเวลาในการถาม-ตอบข้อสงสัยของนักเรียน และช่วงเวลาที่ให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเองซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง