การประเมินเรื่อง : การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านห้วยใหญ่
ผู้ประเมิน : นางทัสดา บุตรวาทิตย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยใหญ่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านห้วยใหญ่ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการความจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความพร้อมของสถานศึกษา 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะของงบประมาณ ความเหมาะสมของบุคลากร และความเหมาะสมของการจัดรูปแบบโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของโครงการ และการนิเทศ กำกับติดตาม 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านห้วยใหญ่ เกี่ยวกับ 4.1) ประเมินกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4.2) ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู 4.3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง 89 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 4 คน ผู้ปกครอง จำนวน 39 คน นักเรียน จำนวน 39 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยใหญ่ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดทุกตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการดังนี้
1. ด้านบริบท ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.33, S.D. = .67) 4.1 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าสูงสุดคือ ความเป็นไปได้ของโครงการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48, S.D = .67) รองลงมา ความต้องการความจำเป็นในการจัดทำโครงการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.27, S.D = .73) ส่วนตัวชี้วัดที่มีค่าต่ำสุดคือ ความพร้อมของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.24, S.D = .62)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.40, S.D. = .58) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าสูงสุดคือ ความเหมาะสมของการจัดรูปแบบโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55, S.D = .50) รองลงมา ความเหมาะสมของบุคลากรอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.34, S.D = .61) ส่วนตัวชี้วัดที่มีค่าต่ำสุดคือ ความเหมาะสมของงบประมาณอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.32, S.D = .65)
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.32, S.D. = .56) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าสูงสุดคือ การจัดกิจกรรมของโครงการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.40 S.D = .57) ส่วนตัวชี้วัดที่มีค่าต่ำสุดคือ การนิเทศกำกับติดตามอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.24, S.D = .54)
4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.41, S.D. = .59) ซึ่งผลการประเมินตัวชี้วัดย่อยสรุปได้ดังนี้
4..1 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูเกี่ยวกับกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.39, S.D. = .50)
4. 2 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.41 , S.D. = .52) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. 3 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44, S.D. = .60) และผ่านเกณฑ์การประเมิน